ค่าความต้านทานดิน ที่วัดได้จาก Ground Clamp หรือ Earth clamp จะวัดถูกต้องไม่ถูกต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอะไร
ค่าความต้านทานดิน ที่วัดได้จาก Ground Clamp หรือ Earth clamp จะวัดถูกต้องไม่ถูกต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอะไร
ค่าความต้านทานดิน ที่วัดได้จาก Ground Clamp หรือ Earth clamp จะวัดถูกต้องไม่ถูกต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอะไร
เขียนโดย : วีรยุทธ อุดสม
ฝ่ายขายสาขาปทุมธานี
หลักการทำงาน
Ground clamp จะทำงานโดยการปล่อยสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำเข้าไปในแท่งกราวด์ ทำให้เกิดกระแสไหลผ่านแท่งกราวด์ผ่านลงไปในดิน และหากมีแท่งกราวด์ อื่นๆที่ต่อขนานกันอยู่ กระเเสไฟฟ้าก็จะแบ่งไหลผ่านแท่งกราวด์ทั้งหมดแล้วกลับมาครบวงจรที่แท่งกราวด์ต้นที่ทำการวัด โดยเครื่องจะทำการคำนวณกระเเสที่ไหลกลับมา โดยแปลงผลออกมาในแบบค่าความต้านดินของแท่งกราวด์ต้นนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น CHAUVIN ARNOUX รุ่น CA-6417 ครับ
ข้อดี
- ทำให้การวัดสะดวก เนื่องจากไม่ต้องทำการปักหมุดแท่งกราวด์ ไม่เปลืองเนื้อที่ ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องปลดกราวด์ออกจากระบบก็สามารถวัดได้ทันที
- กรณีที่วัดค่าความต้านทานดินของแท่งกราวด์แล้วไม่ขึ้นค่า แสดงว่ามีการขาดของสายกราวด์ สามารถรู้โดยไม่ต้องขุดดู
ข้อเสีย
- ค่าความต้านทานของแท่งกราวด์ที่วัดได้ เป็นเพียงค่าโดยประมาณเท่านั้นอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง
- ยิ่งมีแท่งกราวด์มาต่อขนานน้อยเท่าไร ค่าความต้านทานดินของแท่งกราวด์ที่วัดได้จะยิ่งไม่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งผิดผลาดได้ถึง 50% จึงไม่เหมาะจะนำมาทำการวัดแท่งกราวด์ที่มีการขนานกันน้อยๆ
- ไม่สามารถนำมาวัดแท่งกราวด์แบบแท่งเดี่ยวได้ เนื่องจากกระเเสจะไม่สามารถไหลได้ครบวงจร
- เนื่องจากการวัดแท่งกราวด์ไม่ได้ถูกปลดจากระบบ จึงอาจทำให้เกิดการรบกวนจากกระเเสที่ไหลอยู่ได้ อาจทำให้ค่าที่วัดแสดงค่าได้ไม่ถูกต้อง
หลักการใช้งาน
หลักการใช้งาน Ground clamps ทำงานเมื่อจุดต่อลงดิน มี 2จุดขึ้นไป แต่ค่าที่วัดได้จะแม่นยำก็ต่อเมื่อจุดต่อลงดินมีหลายๆจุด
Tip Recommend
Product Recommend
Subscribe
กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่