ในการสอบเทียบเครื่องมือวัดเราควรกำหนดความถี่ของการสอบเทียบไว้ที่เท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม ?
ในการสอบเทียบเครื่องมือวัดเราควรกำหนดความถี่ของการสอบเทียบไว้ที่เท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม ?
เขียนโดย : กัลยรัตน์ จันตาขาว
Product Manager
สวัสดีค่ะทุกท่าน เมื่อพิจารณาจากแนวทางสากลของ ILAC (International Laboratory Accreditation Cooperation) แล้ว ความถี่ในการสอบเทียบขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความถี่ในการใช้งาน ความแม่นยำที่ต้องการ และข้อกำหนดด้านคุณภาพภายในของบริษัทค่ะ โดยทั่วไปจึงมักจะกำหนดระยะเวลาการสอบเทียบของเครื่องมือวัดในครั้งแรกที่ 6 เดือน หรือ 12 เดือนต่อการสอบเทียบหนึ่งครั้ง สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณากำหนดความถี่ของการสอบเทียบอุปกรณ์นั้น โดยทั่วไปจะพิจารณาจากองค์ประกอบดังต่อไปนี้ค่ะ
1. ประวัติการสอบเทียบของอุปกรณ์ หากประวัติการสอบเทียบย้อนหลังประมาณ 2 – 3 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าความถูกต้องยังคงอยู่ในย่าน หรือไม่มีแนวโน้มแสดงให้เห็นว่าเริ่มออกนอกย่านที่กำหนด เราสามารถที่จะยืดระยะเวลาการสอบเทียบออกไปได ้แต่ในทางกลับกันหากประวัติการสอบเทียบแสดงให้เห็นว่าผลการสอบเทียบออกนอกย่านที่กำหนด ระยะเวลาการสอบเทียบต้องหดลง แม้ว่าจะมีประวัติเพียงครั้งเดียวก็ตาม
2. ลักษณะการใช้งานในจุดวิกฤตหรือไม่ เครื่องมือวัดที่ถูกติดตั้งใช้งาน ณ จุดวิกฤตของกระบวนการผลิต ย่อมต้องมีความถี่ในการสอบเทียบมากกว่าเครื่องมือวัดที่ติดตั้ง ณ จุดใช้งานทั่วไป
3. การบำรุงรักษา เครื่องมือวัดที่ผู้ใช้งานมีการเก็บดูแลบำรุงรักษาอย่างดี คาบระยะเวลาการสอบเทียบก็อาจจะนานกว่าเครื่องมือวัดที่ผู้ใช้งานไม่เคยเหลียวแล
4. ความถี่ในการใช้งาน สำหรับเครื่องมือวัดที่มีความถี่ในการใช้งานบ่อย โอกาสที่จะทำให้เครื่องมือวัดนั้นออกนอกย่านที่กำหนดจะมีมากกว่าเครื่องมือวัดที่มีความถี่ในการใช้งานน้อยกว่า ดังนั้นความถี่ในการสอบเทียบของเครื่องมือวัดเหล่านี้ก็ย่อมจะต้องมีมากกว่าด้วยเช่นกัน
5. พิจารณาจากประเภทของอุปกรณ์ กล่าวคือ อุปกรณ์ที่เรียกว่า “ * Active Equipment “ จะมีความถี่ในการสอบเทียบมากกว่าอุปกรณ์ที่เรียกว่า “ ** Passive Equipment ”
* Active Equipment คือ เครื่องมือวัดที่ต้องมีไฟเลี้ยง เช่น เครื่องชั่ง , Digital Multimeter เป็นต้น
** Passive Equipment คือ เครื่องมือที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่ต้องอาศัย Bias supply หรือไฟเลี้ยง เช่น ตุ้มน้ำหนัก , Vernier Caliper เป็นต้น
6. กรณีที่เกิดความสงสัยในการอ่านค่าของเครื่องมือเช่นเครื่องมือหล่น หรือส่งไปซ่อมมา แนะนำให้ส่งเครื่องมือเข้ามาสอบเทียบโดยทันทีเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเครื่องมือวัดยังคงมีคุณสมบัติทางมาตรวิทยาค่ะ
Tip Recommend
Product Recommend
Subscribe
กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่