ยอดฮิต ติดชาร์ต อาการเสียของเครื่องมือวัดเกิดจากอะไร!!!

ยอดฮิต ติดชาร์ต อาการเสียของเครื่องมือวัดเกิดจากอะไร!!!

16 February 2023


เขียนโดย : ภูมิชนะ จรเอ้กา
Quality Control Dept



สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้จะพาไปดูว่าเครื่องมือวัดที่ส่งมาซ่อมบ่อยๆ อาการยอดฮิต ติดชาร์ต นั้นคืออาการแบบไหนกันนะ ที่เจ้าเครื่องมือวัดสุดแสนรักของเราจะมีอาการเสีย หรือจุดเสียบ่อย ๆ กัน ปฎิเสธไม่ได้เลยใช่มั้ยครับ ไม่ว่าเครื่องมือวัดที่มีราคาแพงหรือถูก ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ไฟเลี้ยงเป็นแบบใช้ถ่านกันเป็นส่วนใหญ่ และปัญหาที่ตามมาก็คือ ความเสียหายของรางถ่าน ขั้วถ่าน นั่นเองครับ แล้วเราจะมีวิธีจัดการกับมันอย่างไรดีถึงจะ หลีกเลี่ยงและป้องกันได้ ซึ่งๆไม่ยากเลยครับ วันนี้เรามีมาบอกอย่างแน่นอนครับ ก่อนอื่นเราไปดูก่อนว่า ทำไมถ่านถึงเสื่อมสภาพ แล้วถึงทำลายขั้วถ่านของเครื่องมือวัดของเราได้


• แบตเตอรี่หรือถ่านที่เสื่อมเกิดจากการเสื่อมสภาพของสารเคมีภายในเซลล์แบตเตอรี่ส่งผลให้ความจุของแบตเตอรี่ลดลงดังนั้นพลังงานที่ใช้งานได้ต่อการชาร์จแบตเตอรี่จนเต็มจะน้อยลง สาเหตุของการเสื่อมอาจเกิดจาก
• สารเคมีหรือวัสดุภายในเซลล์แบตเตอรี่หมดอายุ
• การใช้งานหรือการจัดเก็บไม่เหมาะสมทำให้เกิดความร้อน ซึ่งความร้อนเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้แบตฯ เสื่อมสภาพการทำงานผิดปกติอันเนื่องมาจาก Under charging หรือ Over charging
• ส่วนของเหลวที่หนืดเยิ้ม ที่พบเห็นบ่อยจากถ่านไฟฉายธรรมดา (carbon-zinc cell) และถ่านแอลคาไลน์ (alkaline cell) คือ สารอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งถ่านไฟฉายธรรมดาจะใช้สารละลายแอมโมเนียคลอไรด์ (ammonium chloride, NH4Cl) และ ซิงค์คลอไรด์ (zinc chloride, ZnCl2) เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ เมื่อสารแมงกานีสไดออกไซด์ถูกทำปฏิกิริยาจนหมด (ถ่านไฟฉายหมดไฟ) สารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดยังสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีกับกระป๋องสังกะสีต่อได้ ทำให้เกิดการกัดกร่อนจนสารเคมีภายในรั่วไหลออกมา
• ส่วนถ่านแอลคาไลน์จะใช้สารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่มีฤทธิ์เป็นเบส ซึ่งสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีกับกระป๋องสังกะสีได้เช่นเดียวกันเมื่อถ่านหมดอายุการใช้งานแล้ว นอกจากสารละลายที่สามารถรั่วไหล ออกมาได้แล้ว ยังพบโลหะหนักปะปนด้วย
• กรณีแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ใช้สารละลายอิเล็กโทรไลต์แบบของเหลวเกิดเสื่อมสภาพเนื่องมาจากความชื้น ความร้อน และเกิดรั่วซึมออกมา สารอิเล็กโทรไลต์ของแบตชนิดนี้ประกอบด้วยเกลือลิเทียมและตัวทำละลายอินทรีย์จำพวกคาร์บอเนต เมื่อสารอิเล็กโทรไลต์สัมผัสกับน้ำหรือความชื้นภายนอกเซลล์เกิดเป็นกรดไฮโดรฟลูออริก (hydrofluoric acid, HF) ที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง มีความเป็นพิษและระคายเคืองสูง กรดดังกล่าวสามารถทำลายเนื้อเยื่อและรบกวนการทำงานของระบบประสาท ทำให้ผู้ที่สัมผัสกรดไม่รู้สึกเจ็บในตอนแรก แต่ส่งผลในระยะยาวทำให้กระดูกพรุนและข้อเสื่อม นับว่าเป็นกรดที่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างยิ่ง

วิธีการป้องกันคือ หมั่นสำรวจ ตรวจเช็ค ระบบอัดไฟ และสภาพภายนอก รอยรั่วซึมของเซลล์แบตเตอรี่ และไม่ควรเก็บหรือใช้งานเซลล์แบตเตอรี่ที่สภาวะอุณหภูมิสูง ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลดลง

อีกวิธีคือ เลือกใช้ถ่านให้เหมาะสมกับเครื่องมือวัด บางครั้ง อาจคิดว่าถ่านอัลคาไลน์ดีกว่า ให้ไฟที่แรงกว่าก็จริงครับ เเต่เครื่องมือวัดที่ไม่ต้องการใช้กระแสสูงก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ถ่านที่มีกำลังไฟแรงอย่างถ่านอัลคาไลน์ครับ ใช้ถ่านแบบธรรมดา ก็เพียงพอแล้ว ส่วนใหญ่แล้วจะพบความเสียหายกับพวกถ่านอัลคาไลน์เป็นส่วนใหญ่ครับ ทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งานแปปเดียวก็เกิดของเหลว เคมีของถ่านไหลเยิ้มออกมาที่ขั้วถ่านแล้ว และทำให้เกิดความเสียหายกับเครื่องมือวัดของเรา

วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องการอีกวิธีคือ นำถ่านออกเมื่อเลิกใช้งานเป็นเวลานาน แค่ไหนที่จะเรียกว่านาน คิดว่าสัก 1 สัปดาห์ก็ถือว่านานพอสมควรแล้วครับ ยิ่งมาเจอสภาพอาการร้อน ๆ อย่างบ้านเรานั้น มันยิ่งกระตุ้นให้ถ่านพวกนี้เกิด ปฎิกิริยาได้เร็วเลยทีเดียวครับ



Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0