ประเภทและหลักการทำงานของเกจวัดแรงดัน (Pressure Gauge)
ประเภทและหลักการทำงานของเกจวัดแรงดัน (Pressure Gauge)
เรียบเรียงโดย : จิระศักดิ์ จันทร์แก้ว
ฝ่ายขายสาขาธนบุรี
สวัสดีครับทุกท่านครั้งนี้ผมจะพาทุกท่านมารู้จักประเภทและหลักการทำงานในแต่ละแบบของเกจวัดแรงดัน(Pressure Gauge) กันนะครับ เกจวัดแรงดันเป็นเครื่องมือวัดความดันสำหรับอ่านค่าวัดแรงดันในระบบ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องควบคุมแรงดัน นิยมเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมและครัวเรือน โดยเกจวัดแรงดัน จะแสดงผลออกมาทางหน้าปัด เพื่อให้ผู้ใช้ทราบค่าแรงดันที่อยู่ ณ จุดตรวจวัด โดยมีหน่วยแรงดันแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความถนัด ความละเอียดของแรงดันที่ต้องการ หรือตามมาตรฐานที่ได้ถูกกำหนดไว้
หน่วยวัดแรงดันของเกจวัดแรงดันมีอยู่มากมาย แต่ปัจจุบันที่นิยมและเห็นได้ทั่วไป ตามการใช้งานได้แก่bar,kg/cm2,psi,mmHgโดยหน่วย bar และ kg/cm2 นั้นมีค่าที่ใกล้เคียงกัน โดย 1 kg/cm2 = 0.980665 bar ผู้ใช้จึงมักจะนำมาใช้อย่างง่ายว่า 1 bar = 1 kg/cm2 ส่วนหน่วย psi ก็จะอ่านค่าได้ 1 bar = 14.5 psi นอกจากนี้ยังมีหน่วยแรงดันอื่น ๆ ที่ยังพบได้ทั่วไปอย่าง mbar และ Pa(Pascal) อีกด้วยครับ
ประเภทเกจวัดแรงดันปัจจุบันมีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
• เกจวัดแรงดัน(Pressure Gauge): เกจที่มีย่านการวัดตั้งแต่ 0-1 bar ขึ้นไป เช่น 0-10 bar, 0-100 bar, 0-600 bar เป็นต้น
• เกจวัดแรงดูด(Vacuum Gauge): เกจวัดแรงดูดหรือแวคคั่มเกจ ใช้วัดแรงดูดตั้งแต่ -1 ถึง 0 bar หรืออีกหน่วยที่นิยมคือ mmHg นั่นเอง
• คอมปาวด์เกจ(Compound Gauge): คอมปาวด์เกจ เป็นเกจวัดแบบผสม วัดแรงดูดและแรงดันในตัวเดียวกัน เช่น -1 to 3 bar, -1 to 5 bar และ -1 to 9 bar
หลักการทำงานของเกจวัดแรงดัน(Pressure Gauge) มีการทำงานอยู่ทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่
- Bourdon ท่อบูร์ดอง
อาศัยหลักการยืดหดของท่อบูร์ดอง เมื่อเกิดแรงดัน ตัวบูร์ดองที่ติดกับเข็มบ่งชี้(Pointer) จะเกิดการยืดหรือหด ทำให้เข็มชี้ขยับตามแรงดันที่เกิดขึ้น ในบางครั้งอาจเรียกเกจที่ทำงานแบบนี้ว่า Analog Pressure Gauge
- Diaphragm Seal แผ่นไดอะแฟรมซีล
อาศัยแผ่นไดอะแฟรมซีลที่มีลักษณะเป็นแผ่นบาง มีพื้นผิวคล้ายลูกคลื่น เป็นตัวนำส่งแรงดันไปยังเกจวัด ซึ่งการทำงานแบบใช้ Diaphragm Seal นี้ จำเป็นต้องมีการซีลน้ำมันกลีเซอรีนเข้าไปยังอุปกรณ์ เพื่อนำอากาศในตัวอุปกรณ์ออกมาให้หมด
- Sensor เซนเซอร์ดิจิทัล
การทำงานแบบใช้เซนเซอร์ มักพบใน Digital Pressure Gauge เป็นการทำงานที่อาศัยเซนเซอร์แปลงแรงดันเพื่อแสดงค่าออกมาเป็นตัวเลขดิจิทัล
ก็เป็นอันครบถ้วนสำหรับเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ สำหรับประเภทและหลักการทำงานของเกจวัดแรงดัน หวังว่าจะช่วยให้ทุกท่านเข้าใจเกี่ยวกับเกจวัดแรงดันไม่มากก็น้อยนะครับ
Tip Recommend
Product Recommend
Subscribe
กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่