ทำความรู้จักกับ Solid State Relay
ทำความรู้จักกับ Solid State Relay
เขียนโดย : ฝ่ายขาย สำนักงานใหญ่
หลายคนสงสัยกันว่า Temperature Control ใช้งานร่วมกับ Magnetic Contactor เท่านั้นหรือ! แต่อันที่จริงแล้ว
Temperature Control ไม่ได้ใช้งานร่วมกับ Magnetic Contactor เท่านั้น… แต่ยังสามารถใช้งานร่วมกับ… Solid State Relay หรือ SSR ได้อีกด้วย
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Solid State Relay กันก่อนครับ
Solid State Relay หรือ SSR มีทั้งแบบ Single Phase และ Three Phase ซึ่ง Solid State Relay นิยมใช้งานร่วมกับ Temperature Control ในการควบคุมการทำงานของ Heater ซึ่งอาจจะมีใช้งานในเครื่องฉีดพลาสติก เครื่องแพ็คกิ้ง หรือ ในไลน์การผลิตอาหาร ฯลฯ
การใช้งาน
-ควรใช้ร่วมกับ Heat Sink เพื่อระบายความร้อนและยืดอายุการใช้งานของ Solid State Relay ไปในตัว
-Semiconductor Fuse เป็นฟิวส์ที่ช่วยป้องกัน Over Load หากโหลดเกิดช็อต
วิธีการต่อใช้งานตัวควบคุมอุณหภูมิกับโซลิตสเตตรีเลย์
หลายคนอาจจะสงสัย ว่าฟังก์ชันการทำงานเริ่มต้นที่ เฟส 0 องศา (Zero-Crossing) นั้นทำงานยังไง ? มีประโยชน์ยังไง?
- สำหรับการทำงาน คือ เริ่มทำงานที่ เฟส 0 องศา ดังกราฟนะครับ
- สำหรับข้อดีของการเริ่มทำงานที่ เฟส 0 องศา (Zero-Crossing) คือ เมื่อเริ่ม
ทำงานจะเช็คที่เฟส 0 องศา ซึ่งค่าของกระแสเริ่มทำงานจะต่ำที่สุด ซึ่งเป็นผลดีกับ Load ที่ใช้งาน
ถ้าหากไม่มีฟังก์ชัน (Zero-Crossing) ซึ่งอาจจะเริ่มทำงานที่ เฟส 90 องศา ก็จะทำให้ ทำงานในช่วงที่มีกระแสสูงสุด ซึ่งไม่เป็นผลดีกับ Load แน่นอน
แน่นอนครับว่ามีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย
- ข้อเสียของฟังก์ชั่น Zero-Crossing ดูจากกราฟแสดงสถานะการทำงาน พบว่าการทำงานของ Solid State Relay ที่มีฟังก์ชั่น Zero-Crossing จะทำงานช้ากว่า
SolidState Relay ทั่วไป
แต่การทำงานที่ช้ากว่าจะมีผลหรือป่าวมาดูกันครับ
การทำงานของฟังก์ชั่น Zero-Crossing จะทำงานช้ากว่า SSR ที่ไม่มีฟังก์ชั่น Zero-Crossing มากที่สุด 1 ลูกคลื่น หรือ 1 Hz แต่ไฟฟ้าบ้านเราที่ใช้กันมี
ความถี่ที่ 50 Hz หรือ50 ลูกคลื่นต่อวินาที หมายความว่า Solid State Relay ที่มีฟังก์ชั่น Zero-Crossing จะทำงานช้ากว่า 1 วินาทีเมื่อ Solid State Relay
มีการทำงานไป 50 ครั้ง หรือมากกว่านั้น
Tip Recommend
Product Recommend
Subscribe
กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่