การนำตัว Timer ไปใช้งาน เป็น Hour Meter

การนำตัว Timer ไปใช้งาน เป็น Hour Meter

12 November 2014

เขียนโดย : ฝ่ายขาย สำนักงานใหญ่


หลายๆ คน คงจะเคยใช้ตัว Hour Meter กันทุกคนแล้วนะครับ มีคำถามหนึ่ง ที่มักพบบ่อยมากๆ คือ Hour Meterดิจิตอล แบบ มีเอาต์พุต จะมีจำหน่ายไหม? คำตอบคือ เราสามารถนำตัว Timer /Counter ที่มีอยู่มาใช้คู่กับ Relay ให้ทำงานเป็น Hour Meter ได้ครับ เรามาดูว่าตัว Timer / Counter ตัวไหน

บ้างที่เรามีอยู่และสามารถนำมาใช้ เป็น Hour Meter ได้บ้าง ส่วน Relay ใช้ยี่ห้อไหนก็ได้ครับ

หลักการทำงานคร่าวๆเป็น การนำตัว Relay มาต่อ เข้า กับ ขา Inhibit ของตัว Timer เพื่อควบคุมการนับและ หยุดนับ เวลา

Timer/Counter หลักๆ มีอยู่ 2 ยี่ห้อ คือ Hounyoung และ Kubler1. ยี่ห้อ Hanyoung - จะเป็นตัว Timer/counter ให้เลือกการทำงาน เป็น Timer

เช่น รุ่น GE4-P61A, GE7-P61A, GF4-P41N,GF4-P61E เป็นต้น

2. ยี่ห้อ Kubler - จะเป็นตัว Timer/counter/tacho ให้เลือกการทำงาน เป็น Timer

เช่น รุ่น 6-716-010-000, 6-717-010-000 เป็นต้น

ยกตัวอย่าง อยากได้ Hour meter ขนาด 48X48 mm , 4 หลัก,ไฟเลี้ยง 220 VAC , 1 เอาต์พุต Relay

เราใช้รุ่น GF4-P41N + Relay รุ่น RMIA-0020-230VAC + socket Relay รุ่น ZMI2NA

การตั้งค่า สำหรับ รุ่น GF4-P41N การตั้งค่าจะเป็น การ Drip Sw. การตั้งค่า ตามรูปด้านล่างครับ


จากรูป เมื่อเรายังไม่เปิดเครื่องจักร หน้าคอนแทค ตัว Relay อยู่ที่ NC ทำให้ตัว Timer ยังไม่เริ่มนับเวลาเพราะขา Inhibit (ขา 6 กับ 9)

ถูกต่อใว้ พอเราเปิดเครื่องจักร ขา Relay จะเปลี่ยน จาก NC มา NO ทำให้ ขา Inhibit ไม่ถูกต่อ Timer ก็จะเริ่มนับเวลาไปเรื่อยๆ พอเราปิดเครื่องจักร

หน้าคอนแทค Relay ก็จะเปลี่ยน จาก NO มา NC ทำให้ ตัว Timer หยุดนับและค้างค่าเวลาที่นับได้ใว้ พอเราเปิดเครื่องจักรอีกที่ ตัว Timer ก็จะ

นับเวลาต่อจากค่าเดิม





Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0