ประยุกต์ใช้งานระบบ Dupline ในงานอุตสาหกรรม

ประยุกต์ใช้งานระบบ Dupline ในงานอุตสาหกรรม

6 January 2016


เขียนโดย : ปัญญา พละกลาง

Product Manager CARLO GAVAZZI

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมจะขอนำเสนอ เรื่องดีๆของระบบ Dupline ในงานอุตสาหกรรม ในที่นี้เราจะคุยเกี่ยวกับการนำ ระบบไปใช้งานจริงและงานที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ขอทบทวนความรู้เบื้องต้นกันสักนิดนะครับ

ระบบ Dupline คือ ระบบส่งสัญญาณระยะไกล 10km ผ่านสาย 2 เส้นเท่านั้น เช่น สัญญาณ 4-20mA , 0-10vdc, ON-OFF ,input / Output ต่างๆ Remote I/O หรือ สถานะการทำงาน Alarm ระดับ High-Low ของถัง ส่งไปแสดงที่ห้องควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประหยัดสายในระบบเดินสายแบบเก่าๆ ติดตั้งง่ายและสะดวก

ในระบบ Dupline ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. ตัวกำเนิดสัญญาณ พัลส์ ( Generator) ,2.ตัวส่งสัญญาณ (Transceiver) , 3. ตัวรับสัญญาณ (Receiver) เราได้ทบทวนกันแล้ว ก็ไปดูในรายละเอียดกันเลยนะครับ



รูปที่
1 : แสดงวงจรลักษณะต่อร่วมกันในระบบ

เมื่อเรามองลักษณะของรูปสัญญาณระบบ Dupline แล้วนำเครื่องมือวัดออสซิลโลสโคบ มาตรวจวัดสัญญาณรูปคลื่น ซึ่งจะได้เป็นดังรูปสัญญาณ ดังรูปที่2


รูปที่ 2 : ลักษณะการกำเนิดของสัญญาณต่อเจนเนอเรเตอร์ 1 ตัว( Generator)

รูปที่ 3 :เมื่อเทียบสัญญาณออสซิลโลสโคบ กับ รหัส A1-P8 รวมได้ทั้งหมด 128 รหัสจะเห็นว่าในระบบอุตสหกรรมนั้น มีการต่อสายหรือการออกแบบใช้งานวางระบหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะแบ่งได้ คือ1.แบบสตาร์,2.แบบไลน์,3. แบบวงแหวน,4.แบบผสม ตามรูปที่4

รูปที่ 4 : การต่อสายใช้งานแบบต่างๆ



การประยุกต์ใช้งานขั้นพื้นฐานในงานอุตสาหกรรม

การส่งสัญญาณขั้นต้นนี้จะเป็นการกล่าวถึงการส่งแบบ ON-OFF โดยเริ่มจากการออกแบบให้ง่ายๆ ไปก่อน ตามรูปที่ 4 เป็นการกำหนดให้อินพุตและเอาต์พุตอยู่ในส่วนไหน โดยใน Site งาน (Local panel) เราให้มี อินพุต 1 จุด เอาต์พุต 3 จุด ที่ห้องควบคุม (Remote Panel) เราให้มีอินพุต 3 จุด เอาต์พุต 1 จุด เป็นต้น และ ในรูปที่ 5 นั้นเป็นการออกแบบป้อนรหัสเข้าไป โดยหลักการ ถ้าต้องการให้กดสวิทช์ 1 อินพุตแล้ว ไฟที่เอาต์พุตติด 3 ดวง จะต้องตั้งรหัสให้ตรงกัน คือ B3

รูปที่ 5 : การกำหนดอินพุท เอาต์พุตขั้นพื้นฐาน

รูปที่ 6 : การกำหนดรหัสให้หลอดไฟติด 3 ดวง พร้อมกัน โดยกดสวิทช์ 1 ตัว ผ่านรหัส B3

การประยุกต์ใช้งานขั้นสูงในงานอุตสาหกรรมเมื่อเรากล่าวถึงขั้นที่มากกว่าขั้นพื้นฐานแล้วนั้น อีกประการที่ต้องควรรู้ คือ การส่งสัญญาณแบบแอนาลอกเป็นสัญญาณมาตรฐานที่เช่น 0-20mA, 4-20mA , 0-10Vdc เป็นต้น มีรูปแบบดังนี้

ในที่นี้เราจะกล่าวถึง Protocol แบบ 8 บิท เท่านั้น ซึ่งลักษณะโปรโตคอล อื่นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป 8 bit Analog ทำความเข้าใจได้ในตาราง รูปที่ 7

รูปที่7 : ตาราง Protocol แบบ 8 บิท

รูปที่8 : ตารางความแตกต่างของโปรโตคอลแต่ละแบบ


ผลงานโปรเจคระบบ Dupline ในงานอุตสาหกรรม ที่ได้ประสบความสำเร็จแล้ว มีดังต่อไปนี้


ขอบคุณครับ





Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0