มาทำความรู้จัก CT : Current Transformer กันดีกว่า

มาทำความรู้จัก CT : Current Transformer กันดีกว่า

12 February 2016


เขียนโดย : ปัญญา พละกลาง

Product Manager CARLO GAVAZZI



สวัสดีครับทุกๆท่านวันนี้ผมจะมานำเสนอเรื่องของ Current Transformer หรือ CT กับการนำไปใช้งาน ตลอดจนข้อควรระวังต่างๆ

CT เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ประกอบการวัดกระแสไฟฟ้าโดยต่อร่วมกับเครื่องวัดกระแส หรือ Power Meterโดยทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้า หรือ ลดทอนกระแสไฟฟ้า (Step down) ที่จะวัดนั้นให้เหมาะสมกับพิกัดกระแสไฟฟ้าที่ขดลวดกระแสของเครื่องมือวัดรับได้ เช่น อัตราส่วน15/5A, 50/5A, 150/5A, 500/5A หรือรวมไปจนถึงกระแสที่สูง ๆ เช่น 10,000/5A, 15,000/5A เป็นต้น

อัตราส่วน (Ratio) ของ CT คืออะไร

อัตราส่วน CT หมายถึง อัตราส่วนของการแปลงกระแส ทางด้านอินพุต primary ต่อ เอาต์พุต Secondary เช่น Ratio ของ CT 400/5A คือ 80ไม่มีหน่วย อธิบายได้ คือ “ CT มี Primary Current เท่ากับ 400A และ Secondary Current 5A มีอัตราส่วนตัวคูณคือ 80 ” ซึ่งเมื่อนำ Ct ตัวนี้ไปต่อใช้งานร่วมกับเครื่องมือวัดพลังงานไฟฟ้า รุ่น WM14-96 ยี่ห้อ CARLO GAVAZZI นั้นจะต้องใส่ค่าตัวคูณเข้าไปด้วย จึงจะแสดงค่ากระแสออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ

ค่า Burden หมายความว่าอย่างไร

ค่า Burden หมายถึง กำลังไฟฟ้าที่สูญเสีย(VA)ของขดลวดแปลงกระแสไฟฟ้า หลักการ คือ เมื่อมีอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกตัวที่ต่ออนุกรมกับขดลวดด้าน secondary มีกำลังไฟฟ้าสูญเสียในเครื่องวัดรวมกันกับกำลังไฟฟ้าสูญเสียในสายวัดมีค่าภายใต้เบอร์เดนของขดลวดแปลงกระแสแล้ว ความผิดพลาดจากการวัดจะเป็นไปตามคลาส(Class)ของขดลวดแปลงกระแสไฟฟ้านั้นเช่น CT 100/5 Class 0.5 จะมีค่าของ Burden 1.5VA , Class3 จะมีค่าของ Burden 2.25VA ตามตารางด้านล่าง ถามว่าแล้วจะเลือกใช้งานแบบไหนดี ระหว่าง Class 0.5 กับ Class3 ให้เลือก Class ที่มีตัวเลขต่ำไว้ก่อนครับ คือ 0.5 เพราะจะบ่งบอกถึงความแม่นยำในส่วนอื่นตามมา


*ข้อควรระวังเกี่ยวกับ CT

เมื่อมีการใช้งานกระแสด้าน อินพุต primaryอยู่จะมีกระแสทางด้านเอาต์พุต Secondary ออกมาด้วย ไม่ควรเปิดลูปวงจรด้านนี้ควร Short ลูป Secondary เอาไว้เพื่อหลีกเหลี่ยงการพังเสียหายของ CTได้ ถ้าระดับกระแสอินพุตมีสูงมากจะทำให้ร้อนและเกิดเพลิงไหม้ได้ แนะนำให้งดจ่ายกระแส อินพุต primary ทุกครั้งที่มีการแก้ไขปรับปรุง

Current Transformer หรือ CT แบ่งตามการใช้งานได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้1. ตัวแปลงกระแสแบบถอดห่วงไม่ได้ (Current Transformer: CT)





2. ตัวแปลงกระแสแบบถอดห่วงได้
( Split Core Current Transformer: CT)

ในส่วนของ Split Core Current Transformer: CT ก็จะมีหลากหลายขนาดมีทั้งเล็กและใหญ่ ซึ่งดูได้จากรูปด่านล่าง



2.1 CT : แบบ Split Core ขนาดใหญ่ เอาต์พุตที่ออกมาจะเป็นกระแส AC เช่น 5A หรือ 1A

2.2 CT : แบบ Split Core ขนาดเล็ก เอาต์พุตที่ออกมาจะเป็นแรงดัน 333mV





ตัวอย่างประยุกต์ใช้งาน CT Split Core ขนาดเล็ก ต่อร่วมกับ Power meter EM271






Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0