อธิบายค่า Uncertainty ในใบ Cer.คืออะไรแบบเข้าใจง่ายๆหมูๆ

อธิบายค่า Uncertainty ในใบ Cer.คืออะไรแบบเข้าใจง่ายๆหมูๆ

15 September 2016



เขียนโดย : Product Manager CALIBTATION




สวัสดีทุกท่านครับ หลายท่านที่ต้องเกี่ยวข้องกับการสอบเทียบตัวอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่างๆ คงต้องคุ้นเคยกับคำว่า Uncertainty อยู่แน่นอนไม่มากก็น้อย เพราะมันระบุอยู่ในใบ Certificate ทุกใบ มีอยู่คู่กับอุปกรณ์ทุกตัว ซึ่งหลายคนก็คงสงสัยว่ามันคืออะไรยังไงกันแน่ พอไปศึกษาอ่านในตำรา หรือบน Google อาจพบว่า ยิ่งอ่านยิ่งไม่เข้าใจ ยิ่งงงไปกันใหญ่ เพราะศัพท์เทคนิค วิทยาศาสตร์ คณิตศาตร์ โดยเฉพาะสถิติเยอะแยะไปหมด อ่านเสร็จอาจพบว่ามีความเข้าใจน้อยลงกว่าตอนก่อนอ่านก็เป็นได้ ไปกันใหญ่ เอาเป็นว่า เบื้องต้นเรารู้ว่า Uncertainty ก็คือ ความไม่แน่นอน ดังนั้น ผมจึงขอมาเพิ่มเติมการอธิบายแบบง่ายๆหมูๆที่สุด เพื่อให้เราเข้าใจว่า Uncertainty คืออะไรกันแน่ครับ

ในชีวิตประจำวันของเรานั้น มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ในหลายๆกิจกรรม เช่น การเดินทาง, การส่งสินค้า, นัดหมอ, กินข้าวกับแฟน, สังสรรค์กับเพื่อน, ไปเที่ยวกับครอบครัว ฯลฯ ซึ่งทุกกิจกรรมเหล่านี้ อาจมีปัจจัยที่ทำให้เราไม่สามารถทำได้ตามแผนที่วางไว้ หรือตามค่าปกติที่เคยทำได้ เช่น

" ปกติ เราใช้เวลาเดินทางไปทำงาน 60 นาที " มีความไม่แน่นอนที่จะทำให้ไม่เป็น 60 นาที อะไรได้บ้าง...?


- จ่าย ค่าทางด่วน +/- 3 นาที

- เติม แก๊ส +/- 5 นาที

- อุบัติเหตุขวางหน้า +/- 6 นาที

- เจอด่านตรวจ +/- 4 นาที

- หมาวิ่งตัดหน้ารถ +/- 2 นาที

# โดยรวมก็ +/- 20 นาที

สรุป เราใช้เวลาเดินทางไปทำงาน 60 +/- 20 นาที นั่นคือเวลาเดินทางมีโอกาสเป็นไป ได้ตั้งแต่ 40 ถึง 80 นาที
ซึ่งหมายถึงเราอาจไปเลท 20 นาที หรือไปเร็วสุดก่อน 20 นาที หรืออาจเลท 10 นาที หรือเร็วกว่า 5 นาที ฯลฯ ก็มีโอกาสเป็นไปได้ เพราะ " ความไม่แน่นอน หรือ Uncertainty " ที่ว่านี้นี่เองครับ

สังเกตว่า การระบุว่าเวลาเดินทางไปทำงาน 60 +/- 20 นาที เริ่มมีลักษณะคุ้นๆคล้ายกับที่มีระบุในใบ Cer.ไหมครับ
เช่น ในใบ Cer.ระบุว่า มิเตอร์สอบเทียบที่ 100 V ได้ 100 +/- 0.5 V ก็แสดงว่า แม้มันวัดได้เป๊ะ 100 V เลย แต่ก็อาจมีความผิดพลาดแกว่งอยู่เป็นไปได้ตั้งแต่ 99.5 - 100.5 V ซึ่งก็เกิดจาก " ความไม่แน่นอน หรือ Uncertainty " เหมือนการขับรถที่ผ่านมานั่นเองครับ ต่างเพียงมันไม่ใช่ความแน่นอนจากปัจจัยต่างๆในการขับรถ แต่เป็นความไม่แน่นอนจากปัจจัยต่างในการสอบเทียบเท่านั้นเอง
ซึ่งความไม่แน่นอนนี้ ไม่มีทางทำให้เป็น 0 ได้ ไม่ว่าจะเรื่องการขับรถ การสอบเทียบ หรือเรื่องใดก็ตาม เรามีทางแค่ทำให้มันลดลง โดยตัดหรือลดทอนปัจจัยเสี่ยงต่างๆออกให้เหลือน้อยที่สุด หรือให้ย่านแคบลง เช่น เลือกถนนที่รถไม่ติด เลือกเวลาที่ไม่จอแจ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ไม่มีทางทำให้ Uncertainty เป็น 0 ได้ครับ ดังนั้น ไม่ว่าจะสอบเทียบหรือเดินทาง ค่า Uncertainty นี้จึงเกาะติดอยู่กับเราไปตลอด จึงจะดีที่สุดที่จะทำความรู้จักมันให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ









Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0