วัดแรงสั่นสะเทือนทำไม แล้วค่าที่วัดได้เอาไปใช้ยังไงได้บ้าง
วัดแรงสั่นสะเทือนทำไม แล้วค่าที่วัดได้เอาไปใช้ยังไงได้บ้าง
เขียนโดย : วีรยุทธ อุดสม
ฝ่ายขายสาขาปทุมธานี
สวัสดีครับทุกท่าน วันผมจะมาแนะนำเกี่ยวกับเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนครับ หลายท่านอาจเคยสงสัยว่าเราจะวัดแรงสั่นสะเทือนไปทำไมนะ แล้วเมื่อวัดแล้วค่าที่วัดได้เราจะเอาไปใช้ยังไงได้บ้าง วันนี้จะมีหลายเรื่องมาเล่าให้ฟัง ทั้งตารางบอกค่ามาตรฐาน, สาเหตุที่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือน และจุดที่ต้องใช้ในการวัดแรงสั่นสะเทือนครับ
การสั่นสะเทือน คือการสั่นหรือแกว่งของวัตถุเมื่อเทียบกับจุดอ้างอิง เช่น การสั่นของมอเตอร์ การสั่นของเครื่องจักรที่ยึดอยู่กับฐาน เป็นต้น
สาเหตุที่ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือน
- ความไม่ได้ศูนย์ (Misalignment) ระหว่างเพลาของเครื่องจักรหมุน
- การหลุดหลวมของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักรหมุน
- แท่นเครื่องหรือจุดจับยึดของเครื่องจักรไม่แน่นหรือไม่แข็งแรง
หลักการวัดแรงสั่นสะเทือน
A คือวัดในแนวแกนเพลา
H คือวัดในแนวรัศมีแนวนอน
V คือวัดในแนวรัศมีแกนตั้ง
ตามมาตรฐาน ISO 10816 ได้ ระบุระดับความรุนแรงของการสั่นสะเทือนที่จำเป็นต้องทำการซ่อมบำรุงไว้เมื่อ เราวัดได้ค่าความสั่นและทราบถึงประเภทของเครื่องจักรของเราแล้ว ให้นำค่ามาเทียบตามตาราง
โดยปกตินิยมวัดเป็นมิลลิเมตร/วินาที (mm/s) และนิ้ว/วินาที (inch/sec) ในการวัดความเร็วเรามักจะวัดแบบ RMS
เช่น ถ้าเราวัดได้ 0.45 mm/s แปลว่า เครื่องจักร อยู่ในสภาพดีอยู่ แต่ถ้าวัดได้ 28 mm/s แปลว่าเครื่องจักร มีการสั่นมาก ต้องหยุดตรวจเช็คทันที ในส่วนของเครื่องมือวัดประเภทนี้ มักออกแบบมาให้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน เช่น ยกตัวอย่างเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน ยี่ห้อ Daiichi รุ่น HY103-A ซึ่งจะมีฟังก์ชั่นต่างๆพร้อมใช้งาน เช่น หัววัด 2 แบบ ทั้งแบบปลายแหลม ใช้วัดได้ในที่แคบ และ หัววัดแบบแม่เหล็ก สามารถดูดติดกับชิ้นงานที่เป็นโลหะ และสามารถวัดการสั่นสะเทือนได้ถึง 3 แบบ คือ อัตราเร่ง ความเร็ว และระยะการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร หน้าจอเป็น LCD 4 หลัก พร้อมไฟ Backlight มองเห็นได้ชัดแม้ในที่มืด เป็นต้น
Tip Recommend
Product Recommend
Subscribe
กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่