ใบ Cert. เกจวัดความดัน (Pressure Gauge) ทำไมจึงสอบเทียบ ขาขึ้น – ขาลง ?

ใบ Cert. เกจวัดความดัน (Pressure Gauge) ทำไมจึงสอบเทียบ ขาขึ้น – ขาลง ?

15 May 2017

เขียนโดย : Product Manager CALIBRATION






สวัสดีทุกท่านครับ จากที่หลายๆท่านได้เคยส่งเกจวัดความดัน (Pressure Gauge) มาสอบเทียบ ห้องปฏิบัติการฯได้ทำการสอบเทียบและส่งใบรายงานผล (ใบ Cert.) กลับไปให้ ซึ่งหากดูจากใบ Cert.จะเห็นว่ามีการสอบเทียบทั้งขาขึ้นและขาลง อาจทำให้หลายท่านสงสัยได้ว่าเพราะเหตุใดจึงต้องทำทั้งขาขึ้นและขาลง วันนี้คำตอบมาฝากครับ

ในการสอบเทียบเกจวัดแรงดัน (Pressure Gauge) สิ่งสำคัญในการสอบเทียบคือ การตรวจสอบค่า Hysteresis (ความสามารกในการวัดซ้ำของเกจวัดแรงดัน) ซึ่งพบว่าที่แรงดันใดๆ ก็ตาม ค่าที่ได้จากการสอบเทียบในช่วงที่จ่ายแรงดันเข้า กับลดแรงดันลง จะไม่เท่ากัน ดังนั้นในการสอบเทียบอุปกรณ์วัดแรงดันจึงจำเป็นที่จะต้องสอบเทียบทั้งในขณะที่จ่ายแรงดันเข้า (ขาขึ้น) และลดแรงดันลง (ขาลง) นั่นเอง







ด้วยเหตุนี้ ใบ Cert. จึงรายงานผลทั้ง Increasing (ขาขึ้น) และ Decreasing (ขาลง) อย่างที่แสดงในใบ Cert. เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจในคุณภาพของการวัดและนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดครับ



Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0