ขั้นตอนการสำรวจและการวัดค่าความต้านทานดิน

ขั้นตอนการสำรวจและการวัดค่าความต้านทานดิน

29 June 2017

ขั้นตอนการสำรวจและการวัดค่าความต้านทานดิน




เขียนโดย : ฝ่ายขายสาขาชลบุรี




สวัสดีค่ะทุกท่าน วันนี้จะมาพูดคุยกันถึงเรื่องขั้นตอนการสำรวจและการวัดค่าความต้านทานดินกัน อย่างที่หลายท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่า การวัดค่าความต้านทานดิน เป็นประโยชน์กับงานในหลายๆด้าน รวมถึงการป้องกันอุบัติเหตุจากการเกิดไฟฟ้าดูดอีกด้วย และในการวัดค่าความต้านทานดิน ก็ยังสามารถแบ่งออกได้พอสังเขปดังนี้

1. วิธีการวัดความต้านทานดิน

2. วิธีการวัดความต้านทานดินระหว่าง หลักดิน 2 จุด

3. วิธีการวัดค่าความต้านทาน จำเพาะของดิน

สำหรับวันนี้ เราจะมาพูดถึง การวัดความต้านทานดิน จากเครื่องมือวัด ชนิด 3 Probes และ ชนิด 4 Probes กันค่ะ ว่ามีวิธีการอย่างไร และ สามารถนำไปใช้งานได้อย่างไรบ้าง


เครื่องมือวัด Earth Tester ชนิด 3 Probes



1. เสียบหลักดินมาตรฐานของเครื่องวัด (AUXILIARY EARTH SPIKES) โดยให้ห่างจากหลักดินที่เราต้องการทดสอบ แต่ละหลักห่างกัน ประมาณ
5-10 เมตรค่ะ

2. ต่อสายวัด C , P , E ของเครื่องวัดเข้ากับหลักดิน ตามภาพที่ 1

3. เช็คเพื่อดูการต่อสายวัดผิดปกติหรือไม่ ถ้าเป็นเครื่องวัดแบบเข็ม จะมีหลอดไฟแสดงสภาวะ " OK LAMP " แสดงเมื่อมีการต่อสายได้ถูกต้องสมบูรณ์แต่ถ้าเป็นเครื่องวัดแบบตัวเลข หน้าจอจะแสดง "........" แสดงว่าเกิดความบกพร่องในการต่อสาย

4. กดปุ่มเพื่อทำการวัดค่าความต้านทานดิน ซึ่งค่าที่ได้จะต้องมีค่า ไม่เกิน 5 โอห์มค่ะ


เครื่องมือวัด Earth Tester ชนิด 4 Probes

1. กำหนดบริเวณที่จะติดตั้งรากสายดิน (Earth Electrode) โดยถ้าเป็นไปได้ ให้ตั้งเป็นศูนย์กลางของการวัด

2. กำหนดแนวที่เราจะทำการวัด ให้เป็น2แนว ตั้งฉากกันดังรูปที่ 2

3. ต่อวงจรการวัดดังรูปที่ 3 สำหรับวิธีนี้ จัดระยะวัด A ให้มีค่าเริ่มต้นที่ >75 cm. ทำการวัดค่าความต้านทาน R ที่ได้จากเครื่องมือวัด Earth Tester


fig.3 Test Electrode location for single point measurement.


4. คำนวณค่าความต้านทานจำเพาะของดินที่เฉลี่ยความลึกที่ 75 cm. โดยคำนวณจากสูตร 

5. ทำการวัดตามข้อ 3 และข้อ 4 โดยกำหนดให้ระยะ A เป็น 300 , 600 , 900 cm ตามลำดับ เท่านี้ก็จะได้ค่าความต้านทานจำเพาะที่เราต้องการค่ะ


***ขั้นตอน การสำรวจพื้นที่***

1. ในการกำหนดแนวในการวัดจะต้อง ระวังไม่ให้ทับซ้อนอยู่บนโลหะ ที่ฝังอยู่ใต้ดินที่มีขนาดใหญ่ เช่น ท่อปะปา หรือ แท่งอะไรที่ทำด้วยโลหะเพราะจะทำให้ค่าที่วัดได้ไม่ถูกต้อง

2. ไม่ควรทำการวัดค่าความต้านทานจำเพาะของดินที่ เปียก ชื้น แฉะ หรือหลังฝนตกใหม่ๆ เพราะค่าที่วัดได้จะเพี้ยน

3. ในกรณีที่ทำการวัด ในพื้นที่ๆแห้งแล้งมากอาจทำให้เครื่องไม่สามารถวัดได้ แก้ไขโดยการใช้Probe G (ในกรณีที่เครื่องวัดมีมาให้) ช่วยโดยการ ปักระหว่างกลาง Probe P1 และ P2 จะทำให้การวัดอ่านค่าได้ค่ะ
4. การวัดแรงดันไฟ จะต้องไม่เกิน 10 V

5. มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทยของ ว.ส.ท. ได้กำหนดค่าความต้านทานของหลักดินต้องไม่เกิน 5 โอห์ม แต่สำหรับพื้นที่ที่ยากต่อการปฎิบัติที่ทางการไฟฟ้าเห็นชอบ กำหนดให้มีค่าไม่เกิน 25 โอห์มได้ค่ะ


ยกตัวอย่างเครื่องวัดค่าความต้านทานดินแบบชนิด 3 Probes ก็จะมียี่ห้อ Kyoritsu เช่น รุ่น KEEA-4102 (แบบเข็ม) และ KEED-4105 (แบบตัวเลข) หรือรุ่น CA-6460 เป็นต้นค่ะ


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : www.theematek.com , www.kumwell.com , www.www.kyoritsu-thailand.net , www.chauvin-arnoux.com





Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0