ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของ Timer มีอะไรบ้างนะ?
ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของ Timer มีอะไรบ้างนะ?
เขียนโดย : วิโรจน์รัตน์ เฟื่องฟู
ฝ่ายขายสาขาธนบุรี
สวัสดีทุกท่านครับ วันนี้ผมมีทิปเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับฟังก์ชั่นของ Timer เกี่ยวกับการทำงานในฟังก์ชั่นต่าง ๆ มาฝากกันครับ ซึ่งปกติตัว Timer นั้นมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Analog Timer , Digital Timer , Star - delta Timer , Daily Timer , Weekly Timer
ส่วนใหญ่เราจะใช้ฟังก์ชั่นอะไรบ้างเพื่อนำไปสั่งงานหรือควบคุมในหน้างาน เรามาดูว่าแต่ละฟังก์ชั่นทำหน้าที่อะไรบ้าง เพื่อนำ Timer นั้นไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์แล้วใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ
1) รูปแบบการทำงานแบบหน่วงเวลาเปิด Power On - Delay และ Signal On - Delay
1.1 การทำงานแบบ Power On - Delay หลักการทำงานเมื่อเราทำการจ่ายไฟให้กับ Timer ก็จะเริ่มการหน่วงเวลาตามที่เรามีการตั้งค่าไว้
ซึ่งเมื่อถึงเวลาตามที่เราต้องการ Out put จะเริ่มทำงานค้างไว้จนกว่าจะมีการ Reset หรือตัดไฟออกจากตัว Timer ดูได้จากกราฟการทำงาน
1.2 การทำงานแบบ Signal On - Delay นั้น หลักการทำงานเมื่อเราจ่ายไฟให้กับ Timer แล้วตัว Timer จะยังไม่เริ่มทำงานทันที่ จนกว่าจะมีสัญญาณไฟฟ้ามาทริกที่ In put ของตัว Timer ถึงจะเริ่มทำงานหน่วงเวลาตามที่เราตั้งค่าไว้ เมื่อถึงช่วงเวลาที่หน่วงครบแล้ว Timer จะทำงานค้างจนกว่าเราจะมากด Reset หรือหยุดจ่ายไฟที่ตัว Timer ดูได้จากกราฟการทำงาน
การประยุกต์การใช้งาน เช่น การตั้งเวลาเปิดเครื่องปรับอากาศ , หน่วงการทำงานของปั้ม
2) รูปแบบการทำงานแบบหน่วงเวลาปิด Power Off - Delay และ Signal Off - Delay
2.1 การทำงานแบบ Power Off - Delay หลักการทำงานจะทำงานเมื่อจ่ายไฟให้กับตัว Timer แล้ว Out put จะเริ่มทำงานทันที่ ถึงแม้ว่าจะไม่มีไฟจ่ายให้แล้วก็ตามตัว Timer นั้นก็จะยังทำงานจนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนดในการตั้งค่า Out put ไว้ แล้วตัว Timer ถึงจะหยุดการทำงาน ดูได้จากกราฟการทำงาน
2.2 การทำงานแบบ Signal Off - Delay คือเมื่อทำการจ่ายไฟให้กับตัว Timer แล้วจะยังไม่เริ่มทำงาน เพราะว่าจะรอสัญญาณที่จะมาทำการทริก In put ก่อนแล้วตัว Timer นั้นจะสั่งให้คอนแทคทำงานทันที แล้วเมื่อสัญญาณอินพุตหยุดตัว Timer ก็จะเริ่มทำการหน่วงเวลาที่ตั้งไว้แล้วเมื่อครบช่วงเวลา Timer จะหยุดการทำงานทันที ดูได้จากกราฟการทำงาน
การประยุกต์การใช้งาน เช่น การหน่วงเวลาปิดไฟ
3) รูปแบบการทำงานแบบเปิด - ปิด , แบบสลับกัน Power On - Flicker และแบบ Pulse Off - Flicker
3.1 รูปแบบการทำงานแบบ Power On - Flicker คือการทำงานเมื่อมีการจ่ายไฟให้กับ Timer ก็จะเริ่มทำการหน่วงเวลาไปตามที่เราตั้งไว้พอถึงเวลาที่มีการตั้งค่า Out put ตัว Timer จะทำงานจนถึงช่วงเวลาที่ตั้งไว้แล้วจะหยุดเพื่อสลับการทำงานไปเรื่อย ๆ ดูได้จากกราฟการทำงาน
3.2 รูปแบบการทำงานแบบ Pulse On - Flicker คือการทำงาน เมื่อจ่ายไฟให้กับ Timer ตัว Timer จะยังไม่ทำงานจนกว่าจะมีสัญญาณมาทริกที่ In put ของ Timer ถึงจะเริ่มหน่วงเวลาตามที่มีการตั้งไว้ พอถึงเวลาที่ Out put ของ Timer ทำงานก็จะทำงานจนถึงเวลาที่ตั้งไว้ แล้วจะหยุดการทำงานทำหน้าที่สลับกันไปในเวลาที่เท่ากันเรื่อย ๆ ดูได้จากกราฟการทำงาน
การประยุกต์การใช้งาน เช่น ใช้ในการตั้งเวลาสลับเปิดปิดไฟริมรั้ว
** รูปแบบฟังก์ชั่นของ Timer ยังมีแบบแปลก ๆ เฉพาะเจาะจงอีกมากาย แต่ขอยกที่ใช้กันบ่อย ๆ มาให้ดูเป็นตัวอย่างก่อนครับ**
Tip Recommend
Product Recommend
Subscribe
กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่