Kubler Hi - End Sensor วัดระยะด้วยแถบแม่เหล็กแบบ Lime ทำงานอย่างไรนะ?

Kubler Hi - End Sensor วัดระยะด้วยแถบแม่เหล็กแบบ Lime ทำงานอย่างไรนะ?

3 September 2018


เขียนโดย : ปัญญา พละกลาง

Product Manager




สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ขอพูดเกี่ยวกับเรื่องเซนเซอร์ Limes วัดระยะแบบแถบแม่เหล็ก แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบแหวนแถบแม่เหล็ก (Rotative) กับแบบเส้นตรงแถบแม่เหล็ก (Linear) ซึ่งในที่นี้เราจะเน้นถึงแบบแหวนกันนะครับ โดยตัวเซนเซอร์ก็ใช้รุ่น LI20 และ LI50 เช่นเดียวกับแบบเส้นตรง แต่จะต่างกันที่แถบแม่เหล็กเป็นแบบวงแหวนหมุนไปเรื่อย ๆ โดยในนั้นจะมีแถบแม่เหล็กขั้วN, ขั้ว S ฝั่งอยู่ภายใน โดยจะทำงานส่งจำนวนพัลล์ออกมาเป็นลูก ๆ เมื่อเซนเซอร์วิ่งผ่านขั้วNและขั้ว S ทั้งนี้ระยะการวัดขึ้นอยู่กับการเลือกความละเอียด เช่น 1000, 2000, 1024, 2048และ 3600 PPR (Pulse Per Revolution)โดยเอาต์พุตที่ได้จะเป็น Push - Pull หรือ RS - 422 เป็นต้น



รูปที่ 1 : เซนเซอร์แบบ Lime กับชนิดของวงแหวนและรูปคลื่นเอาต์พุต


รูปที่ 2 : แสดงการทำงานเมื่อเซนเซอร์วิ่งผ่าน ขั้วS กับขั้ว N


จากรูปที่1 เป็นชนิดและรูปแบบของแถบแม่เหล็กแบบวงแหวนขนาดต่าง ๆ (ซ้าย) และระยะการวางตำแหน่งของแถบแม่เหล็กภายใน (ขวา) ว่าจะให้ห่างกันเป็นเท่าใด เช่น 2 mm, 5 mmนั่นคือความละเอียดของการเทียบระยะด้วยเช่นกัน โดยจะมีเซนเซอร์ที่เรียกว่า MR - Sensor ตรวจเช็คขั้วS กับขั้วN ออกมาเป็นรูปคลื่นสัญญาณ mV เข้าวงจรขยายเพื่อส่งให้เป็นสัญญาณมาตรฐานต่อไป

รูปที่ 3 : วิธีการติดตั้ง แบบวงแหวนให้แม่นยำ อย่างถูกต้อ


สรุปการติดตั้งที่ถูกวิธี

1. ตัว Limes กับ ตัว Magnet (ตัวแถบแม่เหล็ก) มันสามารถห่างกันได้มากสุดไม่เกิน 1 mm (LI20) หรือ 2 mm (LI50)
2. ตัว Limes นั้นในการติดตั้งต้องเอียงได้ไม่เกิน ± 3 องศา (Rotation and Tilting )ในแนวตั้งและแนวนอน
3. ตัว Limes กับMagnet (ตัวแถบแม่เหล็ก) สามารถเยื้องกันได้ ±1 mm (Lateral Offset)

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการวัดระยะด้วยแถบแม่เหล็กแบบ Lime ติดต่อสอบถามเข้ามาได้ครับ บริการฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ครับ





Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0