การต่อฮีตเตอร์แบบสตาร์ (Star) กับเดลต้า (Delta) ต่างกันอย่างไร?

การต่อฮีตเตอร์แบบสตาร์ (Star) กับเดลต้า (Delta) ต่างกันอย่างไร?

19 August 2019


เขียนโดย : สมพงศ์ สัตย์พิทักษ์
Product Manager


สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านมาดูการต่อวงจรแบบสตาร์กับเดลต้า ว่าแบบไหนจะดีกว่ากัน? และต่อแบบไหนเหมาะสมกว่ากัน? ลองมาดูรายละเอียดด้านล่างนี้เลยครับ


ต่อแบบสตาร์ ต่อแบบเดลต้า

เช่น มีฮีตเตอร์ต้มน้ำขนาด 220 V 3000 W ต่อแบบสตาร์ (Star) การออกแบบลวดฮีตเตอร์จะออกแบบไว้ให้ทนแรงดันได้ที่ 220 V แต่หากผู้ใช้งานต้องการจะเปลี่ยนมาต่อเป็นแบบเดลต้า (Delta) จะทำให้แรงดันที่ตกคร่อมของลวดฮีตเตอร์เท่ากับ 380 V ซึ่งเกินแรงดันปกติที่ได้ออกแบบไว้ที่ 220 V จะทำให้ฮีตเตอร์ขาดได้


การต่อแบบสตาร์ (Y ) แรงดันที่ตกคร่อมลวดฮีตเตอร์แต่ละตัวจะเท่ากับ 220 VAC

เช่น ฮีตเตอร์ขนาด 220 V, 1000 W ถ้าจะเปลี่ยนการต่อฮีตเตอร์แบบ Y → △ (แบบสตาร์เป็นแบบเดลต้า) สามารถต่อได้หรือไม่? และจะมีผลอย่างไร?

ตอบ ต่อไม่ได้ เนื่องจากในการออกแบบขดลวดแบบสตาร์ ( Y ) แรงดันตกคร่อมที่ขดลวดฮีตเตอร์ แต่ละตัวจะมีค่าเท่ากับ 220 V และแรงดันตกคร่อมที่ขดลวดฮีตเตอร์แต่ละตัวแบบเดลต้า (△ ) จะมีค่าเท่ากับ 380 V จะทำให้กำลังวัตต์เพิ่มขึ้น 3 เท่า และถ้านำมาต่อใช้งานจะทำให้ฮีตเตอร์ขาด



จากนั้นคำนวณหาค่ากำลังวัตต์ (Watt) ที่ต่อแบบ Y



ดังนั้นควรออกแบบฮีตเตอร์ให้เหมาะกับหน้างาน รวมทั้งระบบไฟฟ้าที่จะนำไปต่อใช้งานตั้งแต่แรก จะช่วยทำให้ฮีตเตอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และทำให้อายุการใช้งานนานขึ้นด้วย





Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0