เคยสงสัยมั้ย... ทำไมฮีตเตอร์ชนิดนี้ ขนาดเท่านี้ ถึงทำวัตต์ได้แค่นี้ มากไปกว่านี้ก็ไม่ได้ น้อยไปก็ไม่ดี ทำไมล่ะ..!
เคยสงสัยมั้ย... ทำไมฮีตเตอร์ชนิดนี้ ขนาดเท่านี้ ถึงทำวัตต์ได้แค่นี้ มากไปกว่านี้ก็ไม่ได้ น้อยไปก็ไม่ดี ทำไมล่ะ..!
สวัสดีครับทุกท่าน เคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำไมฮีตเตอร์ชนิดนี้ ขนาดเท่านี้ ถึงทำวัตต์ได้แค่นี้ มากไปกว่านี้ก็ไม่ได้ น้อยไปก็ไม่ดี ทำไมล่ะ..! วันนี้เรามาทำความเข้าใจกันครับ
หลักๆ แล้วต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ซึ่งความเหมาะสมในขบวนการผลิตที่ต้องคำนึงถึงประการนึงก็คือ “ความหนาแน่นของวัตต์ หรือ Watt Density”
ความหนาแน่นของวัตต์ หรือ Watt Density หมายถึง ปริมาณความร้อน หรือ การถ่ายเทความร้อน เป็นจำนวนวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร (W/cm²) หรือวัตต์ต่อตารางนิ้ว(W/in²) ของพื้นผิวที่มีการให้ความร้อน
โดยมีความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงงานผู้ผลิตฮีตเตอร์ต่างๆ ก็ใช้หลักเกณฑ์นี้ในการผลิตฮีตเตอร์เช่นกัน ซึ่งก็มีการคำนวณความหนาแน่นของวัตต์ รวมถึงทดสอบความเหมาะสม ว่าเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร ตัวอย่างเช่น ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) อาจมีความหนาแน่นของวัตต์ (Watt Density) อยู่ที่ 8-10 W/cm² ดังนั้นการผลิตฮีตเตอร์ท่อกลมไม่ว่าจะขนาดยาวเท่าไหร่ ท่อโตขนาดไหน ก็ต้องผลิตให้มีความหนาแน่นของวัตต์ (Watt Density) ไม่เกิน 10 W/cm² หรือต้องไม่น้อยกว่า 8 W/cm² เป็นต้น มิเช่นนั้นเวลานำไปใช้งาน ฮีตเตอร์จะเสียหาย
ฮีตเตอร์แต่ละชนิด ก็จะมีค่าความหนาแน่นของวัตต์ (Watt Density) แตกต่างกันไป การผลิตฮีตเตอร์ให้อยู่ในช่วงความหนาแน่นที่เหมาะสมนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสารถของผู้ผลิต ว่าจะสามารถผลิตให้เหมาะสมได้หรือไม่ และจากความหนาแน่นของวัตต์ (Watt Density) นี้เอง เราจึงเห็นบางกรณีที่ฮีตเตอร์ไม่สามารถผลิตให้วัตต์สูงไปหรือน้อยไปกว่าที่ต้องการได้ครับ
Tip Recommend
Product Recommend
Subscribe
กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่