ค่า Emissivity และค่า Distance to Spot Ratio ใน Infrared Thermometer มีความสำคัญอย่างไร

ค่า Emissivity และค่า Distance to Spot Ratio ใน Infrared Thermometer มีความสำคัญอย่างไร

26 February 2020


เขียนโดย : วงศกร สีเข้ม

ฝ่ายขาย สาขาปทุมธานี




สวัสดีครับทุกๆ ท่านวันนี้ผมขอกล่าวถึงความสำคัญของค่า Emissivity และค่า Distance to Spot Ratio ใน Infrared Thermometer ครับ

เบื้องต้นแน่นอนว่าเราควรจะต้องทราบช่วงการวัดอยู่แล้วว่า อุณหภูมิของวัตถุที่เราต้องการวัดอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อที่เราจะได้เลือกรุ่นที่มีช่วงการวัดได้ใกล้เคียงกับทางหน้างาน ส่วนฟังก์ชั่นเสริมก็แล้วแต่รุ่นของยี่ห้อสินค้า บางรุ่นจะมีฟังก์ชั่นพิเศษอื่นๆ เช่น แสดงผลค่า MAX / MIN บนหน้าจอ, โชว์นาฬิกา, การ Hold ค่าค้างที่หน้าจอ, เก็บบันทึกค่าที่วัดไว้แสดงภายหลัง, ฟังก์ชั่นตั้งค่า Emissivity หรือสามารถเชื่อมต่อกับเทอร์โมคับเปิ้ล ได้เป็นต้น แต่สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาในการเลือกรุ่นอีกอย่างคือ ค่า Emissivity และค่า Distance to Spot Ratio


1) ค่า Emissivity หรือ ค่าการแผ่รังสีความร้อน / สัมประสิทธิ์การแผ่รังสีความร้อน
คือ ค่าความสามารถในการสะท้อนรังสีอินฟราเรดของวัตถุ วัสดุที่ต่างกันจะมีค่า Emissivity ต่างกัน โดยปกติค่า Emissivity ของเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดจะถูกตั้งไว้ที่ 0.95 (ค่ามาตรฐาน) หากเครื่องวัดอุณหภูมิที่มีฟังก์ชั่นเลือกปรับค่า Emissivity ได้ ก็จะทำให้การวัดอุณหภูมิมีความแม่นยำมากขึ้น และสามารถเลือกปรับค่า Emissivity ให้ตรงกับวัสดุที่เราต้องการวัด


ตัวอย่างการเลือกปรับค่า Emissivity สำหรับวัสดุต่างๆ เช่น หากต้องการวัดอุณหภูมิของไม้ ให้ปรับ Emissivity ที่ 0.85 หรือหากต้องการวัดอุณหภูมิของน้ำ ให้ปรับ Emissivity ไปที่ 0.95 หรืออ้างอิงวัสดุอื่นๆ จากตารางด้านบน (ตาราง Emissivity นี้ค่าอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อ โดยทั่วไปในคู่มือของสินค้าจะมีตาราง Emissivity กำกับไว้จากผู้ผลิต)


2) ค่า Distance to Spot Ratio(D:S Ratio) หรือ อัตราส่วนของ ระยะทาง ต่อ จุด
คือระยะ Distance ต่อจุด Spot (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง) ตัวอย่างเช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ รุ่น 4484 = 50:1 หากวัดอุณหภูมิของวัสดุโดยเล็ง Laser Pointer (เลเซอร์ชี้ตำแหน่ง) ไปบนวัสดุที่ต้องการวัด ห่างจากวัสดุ 150 ซม. ดังนั้น Spot หรือ ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางจะเท่ากับ 3 ซม. (เท่ากับ 150 หาร 50)

แต่เมื่อเราต้องวัดจากระยะไกล สมมุติยืนห่างออกมา 100 ซม. (D/S 50:1 Spot = 2 ซม.) Spot ใหญ่กว่าวัตถุที่ต้องการวัด เครื่องก็จะประมวลผลของอุณหภูมิพื้นหลังรวมไปด้วย เพราะฉะนั้นอุณหภูมิที่อ่านได้ก็จะเท่ากับอุณหภูมิของพื้นหลังกับอุณหภูมิของวัตถุออกมาเป็นค่าเฉลี่ยรวม ทำให้ค่าที่วัดได้ไม่ตรงตามความเป็นจริง เฉพาะนั้นเราควรคำนวณระยะห่างที่แน่นอน เพื่อจะได้ค่าที่แม่นยำยิ่งขึ้นครับ

ที่มา : https://legatool.com/wp/




Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0