Temperature Controller และ Refrigerator Controller ใช้งานต่างกันอย่างไร?

Temperature Controller และ Refrigerator Controller ใช้งานต่างกันอย่างไร?

21 May 2020

เรียบเรียงโดย : 
Product Manager


สวัสดีครับทุกท่าน เครื่องควบคุมอุณหภูมิทำหน้าที่ในการประมวลผลสัญญาณ (Input) ที่รับเข้ามาจากตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ เช่น Thermocouple / PT100 / NTC / PTC เป็นต้น แล้วสั่งการให้เอาต์พุต (Output) ทำงาน เพื่อควบคุม Load เช่น Heater, Compressor เพื่อเพิ่มหรือลดลงของอุณหภูมิให้ได้ตามค่าที่ตั้งไว้ (Set point) และเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ Temperature Controller กับ Refrigerator Controller ในการเลือกนำไปใช้งาน ดังนี้

Temperature Controller




เป็น Controller สำหรับการควบคุมอุณหภูมิแบบ PID / ON-OFF ที่รับสัญญาณ (Input) มาจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ เช่น Pt100 / Thermocouple K, J ฯลฯ และกำหนดค่าที่เราต้องการจะควบคุม (Set point)




ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในโรงงานของอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร, เครื่องบรรจุภัณฑ์, เครื่องฉีดพลาสติก, อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์, อุตสาหกรรมเซรามิกส์ เป็นต้น ตัวอย่างการนำไปใช้งาน เช่น ต้องการต้มน้ำที่อุณหภูมิ 50C ตัว Temp Control ก็จะนำค่าที่อ่านได้จากหัววัด (PV) กับค่าที่เราต้องการควบคุม (SV) มาประมวลผล และค่าที่ประมวลผลได้ ก็จะถูกส่งไปทางด้านเอาต์พุต (Output) เพื่อไปควบคุม Heater ให้ทำงาน เมื่ออุณหภูมิได้ตามที่กำหนด ( 50C) ก็จะตัดการทำงาน เมื่อค่าไม่ได้ก็สั่งให้เอาต์พุตทำงานต่อ วนไปแบบนี้เรื่อยๆ ส่วน Diagram การต่อสายใช้งานหลักๆเลยก็จะมี Output ที่ใช้ควบคุม กับ Output Alarm เพื่อใช่เป็นตัวช่วยในการแจ้งเตือนอุณหภูมิที่เกิน หรือต่ำไปกว่าที่ควรโดยจะมี Terminal ที่เป็น ฟังก์ชั่นเสริมของแต่ละรุ่น เพื่อการใช้งานที่สะดวกมากขึ้น หรือเหมาะสมกับงานนั้นๆได้ดีที่สุด และข้อสังเกตุคือไฟเลี้ยงตัวเครื่องจะเป็นไฟ 220VAC หรือ 24VAC/DC เพราะไม่ต้องเคลื่อนย้ายตัว Temp Control ไปไหนนั่นเอง


Refrigerator Controller / Defrost Controller


เป็น Controller สำหรับการควบคุมอุณหภูมิย่านติดลบ หรือความเย็น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิที่ใช้ในจะเป็น Thermistor / NTC / PTC ซึ่งจะมีย่านการวัด และแสดงผล -40 ถึง 130C ซึ่งเหมาะในการใช้งานที่อุณหภูมิในย่านติดลบได้ดี


ส่วนใหญ่จะใช้กับตู้แช่อาหาร - เครื่องดื่ม ตามห้างร้านต่างๆ, รถห้องเย็นแช่อาหารเพื่อการขนส่งไปที่ต่างๆได้นั่นเอง ตัวอย่างการนำไปใช้งาน เช่น ต้องการควบคุมอุณหภูมิตู้แช่อาหารที่ -5C ตัว Refrigerator Control ก็จะนำค่าที่อ่านได้จากหัววัด (PV) กับค่าที่เราต้องการควบคุม (SV) มาประมวลผลและค่าที่ประมวลผลได้ก็จะถูกส่งไปทางด้านเอาต์พุต (Output) เพื่อไปควบคุม Compressor ให้ทำงาน เมื่ออุณหภูมิได้ตามที่กำหนด ( -5C) ก็จะตัดการทำงาน ถ้าค่าไม่ได้ก็สั่งให้เอาต์พุตงานต่อ วนไปแบบนี้เรื่อยๆ และการทำงานก็จะมีระบบละลายน้ำแข็ง (Defrost) เมื่อถึงเวลาที่กำหนดได้ด้วย และยังมีระบบป้องกัน Compressor เสียหาย เมื่อระบบมีปัญหาได้อีกส่วน Diagram การต่อสายใช้งานหลักๆเลยก็จะมี Output ที่ใช้ควบคุม กับ Defrost ที่ใช้ในการละลายน้ำแข็ง โดยจะมี Terminal ที่เป็นฟังก์ชั่นเสริมของแต่ละรุ่นเพื่อการใช้งานที่สะดวกมากขึ้น หรือเหมาะสมกับงานนั้นๆได้ดีที่สุด และข้อสังเกตุคือไฟเลี้ยงตัวเครื่องจะเป็นไฟ 220VAC หรือ 12VAC/DC เพื่อให้นำไปติดตั้งกับรถยนต์ขนส่งเพื่อการเคลื่อนย้ายได้นั่นเอง





เป็นอย่างไรบ้างกับการเลือกใช้งาน และความแตกต่างของ Temperature Controller กับ Refrigerator Controller ซึ่งการเลือกใช้งาน Controller ที่เหมาะสมกับงานจะช่วยลดความผิดพลาดในการทำงาน หรือการควบคุมระบบได้มากเลยทีเดียวครับ




Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0