ฮีตเตอร์ 380V, 220V, 110V, 24V หรืออื่นๆ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร...?
ฮีตเตอร์ 380V, 220V, 110V, 24V หรืออื่นๆ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร...?
เขียนโดย : Product Manager
สวัสดีครับทุกท่าน ฮีตเตอร์ 380V, 220V, 110V, 24V หรืออื่นๆ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร...?ความเหมือนกันคือ ลักษณะ, รูปร่าง, ขนาด แต่ความต่างคือ ลวดฮีตเตอร์ที่อยู่ภายใน
ในขั้นตอนการผลิตมีความจำเป็นที่จะต้องผลิตให้ตรงกับการนำไปต่อใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าต่างๆจึงต้องมีการคำนวณเพื่อหาความต้านทานของลวดฮีตเตอร์ที่จะใช้ในการผลิต (จาก V และ W ; P= E²/ R) ผลคือ ความต้านทานของลวดฮีตเตอร์ที่ใช้มีความแตกต่างกันในเอง ตัวอย่าง เช่น
• ฮีตเตอร์ 380V-1000W มีค่าความต้านทาน 144.40 โอห์ม
• ฮีตเตอร์ 220V-1000W มีค่าความต้านทาน 48.4 โอห์ม
• ฮีตเตอร์ 110V-1000W มีค่าความต้านทาน 12.1 โอห์ม
• ฮีตเตอร์ 24V-1000W มีค่าความต้านทาน 0.57 โอห์ม
สิ่งที่ต้องระวังคงเป็นเรื่องของการนำไปต่อใช้งานมากกว่า เพราะหากนำไปต่อใช้งานไม่ตรงตามแรงดันไฟฟ้าที่ผลิต จะส่งผลต่อกำลังวัตต์ที่ได้ทันที เช่น
• ฮีตเตอร์ 380V-1000W แต่ใช้แรงดันไฟฟ้า 220V วัตต์จะลดลง 335 W (P = 220² / 144.4 ; P = 335 W) ทำให้ฮีตเตอร์ไม่ร้อนอย่างที่ควรจะเป็น
• ฮีตเตอร์ 220V-1000W แต่ใช้แรงดันไฟฟ้า 380V วัตต์จะเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 W (เนื่องจาก P = 380² / 48.4 ; P = 2,983 W) กำลังวัตต์จะทวีคูณเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว ส่งผลให้ฮีตเตอร์ขาดในเวลาอันสั้น เพราะลวดภายในไม่ได้ถูกออกแบบให้รองรับกำลังวัตต์ที่มากขนาดนั้น
สรุป ฮีตเตอร์ 380V, 220V, 110V, 24V หรือที่แรงดันไฟฟ้าอื่นๆ แตกต่างกันตรงค่าความต้านทานครับ,Tubular Heater ,IMMERSION HEATER ,Finned Heater
Tip Recommend
Product Recommend
Subscribe
กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่