การตรวจเช็คค่า ความเป็นฉนวนแบบ Polarization Index(PI)ด้วยมิเตอร์ รุ่น CA6505 บอกอะไร?
การตรวจเช็คค่า ความเป็นฉนวนแบบ Polarization Index(PI)ด้วยมิเตอร์ รุ่น CA6505 บอกอะไร?
เขียนโดย : ปัญญา พละกลาง
Product Manager CARLO GAVAZZ
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้จะมาแนะนำ วิธีการทดสอบค่าความเป็นฉนวน มีการตรวจสอบด้วยกัน 2-3 วิธีหลักๆ ดังนี้
1. วิธีทดสอบแบบอ่านค่าเดียว คือ กดครั้งเดียวโดยประมาณ 30 วินาทีแล้วบันทึกค่าได้เลย
2. วิธีทดแบบเทียบเวลากับความต้านทาน
2.1 ทดสอบแบบ Dielectric Absorption Ratio (DAR) เทียบค่าฉนวนที่ 30 วินาที และ 60 วินาที แล้วบันทึกค่าได้เลย
2.2 ทดสอบแบบ Polarization Index( PI) เทียบค่าฉนวนที่ 1 นาที และ 10 นาที แล้วบันทึกค่าได้เลย
ในที่นี้ขอกล่าวถึงการทดสอบ Busbar ในตู้ MDB หน้างานโดยวิธีหาค่า PI เท่านั้นผลออกมาเป็นดังนี้
รูปที่ 1 : ผลการทดสอบฉนวนแบบ PI อ่านค่า PI=3.19 และอ่านค่าฉนวนได้ 1.285 เทระโอห์ม ทดสอบที่แรงดัน 500V และ 1000V
ตารางการเปรียบเทียบการทดสอบความเป็นฉนวน
สรุป : ผลการทดสอบเมื่อนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับตารางทดสอบฉนวนแล้ว ถือว่าอยู่ในระดับ ดี (Good) ไม่เป็นอันตรายเมื่อนำไปใช้งานที่ระดับแรง 500V และ 1000Vข้อแนะนำเพิ่มเติม การต่อสายทดสอบความเป็นฉนวนสำหรับการใช้สายกราวด์ (สายสีฟ้า) ควรใช้เมื่อใด
รูป ก : ทดสอบแรงดันต่ำไม่ต้องต่อกราวด์ |
รูป ข : ทดสอบแรงดันสูงต้องต่อกราวด์ |
Tip Recommend
Product Recommend
Subscribe
กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่