ตัวไดโอด ที่ต่อขนานกับคอยล์รีเลย์ สามารถถอดออกได้หรือเปล่า

ตัวไดโอด ที่ต่อขนานกับคอยล์รีเลย์ สามารถถอดออกได้หรือเปล่า

16 กุมภาพันธ์ 2566


เขียนโดย : ชาญชัย ใจรังสี
ฝ่ายขายสาขาสุราษฎร์ธานี



สวัสดีครับทุกท่าน “ เนื่องจากมีลูกค้าที่เป็นช่างซ่อมบำรุงของโรงงาน โทรมาสอบถามว่าเค้าสามารถถอดไดโอดที่ต่อคร่อมอยู่ที่ตัวรีเลย์ออกได้ไหมครับ ” มาดูกันว่าทำไมถึงไม่ควรถอดออก


คอยล์รีเลย์มีส่วนประกอบของขดลวดไฟฟ้าที่พันอยู่รอบแกนเหล็ก ซึ่งเมื่อจ่ายไฟเข้าขดลวด ขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมา แต่เมื่อหยุดจ่ายไฟสนามแม่เหล็กก็จะยุบตัวอย่างรวดเร็ว และจะสร้างแรงดันไฟฟ้าขึ้นมาแทน ทำให้มีกระแสไฟฟ้าย้อนกลับออกมา โดยแรงดันที่เกิดจะมีขั้วตรงข้ามกับแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายเข้าคอยล์รีเลย์ ซึ่งแรงดันที่สร้างขึ้นมานี้จะไปเสริมแรงกับแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายเดิม จึงทำให้มีแรงดันเพิ่มขึ้นจะให้เกิดการอาร์คที่รุนแรงในขณะที่น่าสัมผัสเปิดออก ซึ่งจะทำอันตรายต่อหน้าคอนแทคหรือสวิตท์ ที่ไปสั่งงานชุดคอยรีเลย์




แต่เมื่อเราต่อ ไดโอด เข้า Chrome ขอบคร่อมกับขดลวดหรือคอยล์รีเลย์ไว้ เมื่อเกิดแรงดันย้อนกลับจะทำให้เกิดกกระแสไหลวนผ่านตัวไดโอดแทน ลดการเสียหายของหน้าคอนแทคหรือสวิตท์ ที่ไปสั่งงานชุดคอยรีเลย์


สรุปแล้วการต่อไดโอด คร่อมคอยรีเลย์จะเป็นการป้องกันหน้าคอนแทคหรือสวิตท์ ที่ไปสั่งงานชุดคอยรีเลย์แต่สามารถใช้ได้กับไฟ DC เท่านั้นครับ



ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0