วิธีการเลือก Clamp Meter

วิธีการเลือก Clamp Meter

26 มกราคม 2567

เขียนโดย : มงคล สุภาโอษฐ์
ฝ่ายขายสาขาเชียงใหม่




สวัสดีครับทุกท่าน การเลือก Clamp Meter ให้เหมาะสมกับงานนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึงนั้นคืออุปกรณ์ที่เราจะเลือกใช้นั้นมีดังต่อไปนี้

คุณภาพและการรับรองมาตรฐานต่างๆ

คุณภาพและการรับรองมาตรฐานต่างๆ หรือไม่ มาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือวัดไฟฟ้า (Measurement Categories: CAT) ก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องดู มาตรฐานความปลอดภัยจะแบ่งตามประเภทการวัด ซึ่งมาตรฐานที่ใช้ในเครื่องมือนี้จะมีด้วยกัน 3 ประเภท คือ CAT II, CAT III, CAT IV และมาตรฐานความปลอดภัยจะระบุเป็นแรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่เครื่องมือวัดทนได้ โดยไม่เกิดความเสียหายให้กับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ถูกวัด


CAT II (Category II)   เป็นการวัดแรงดันจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, ปลั๊กไฟ เป็นต้น
CAT III (Category III)   เป็นการวัดแรงดันระดับสายส่งไฟฟ้าในอาคาร เช่น แผงควบคุมไฟฟ้า, เบรกเกอร์, สายเคเบิ้ล เป็นต้น
CAT IV (Category IV)   เป็นการวัดแรงดันระดับสายส่งไฟฟ้านอกอาคาร เป็นจุดที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันหลัก



Resolution และ Accuracy  ค่าความละเอียดและความแม่นยำก็เป็นอีกค่าหนึ่งที่เราควรให้ความสำคัญเพราะการที่จะดูว่าอุปกรณ์นั้นมีความแม่นยำและเที่ยงตรงในการวัดมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับค่าเหล่านี้ ซึ่งความหมายของสัญลักษณ์ที่จำเป็นต่อการเลือกใช้ Clamp Meter ได้แก่

ตัวอย่างการคำนวณค่าความคลาดเคลื่อน
Accuracy specification: ±0.2% rdg.±0.1% f.s. Measurement range: 300.00V Measured value: 100.00V  แสดงว่า Reading error (±%rdg.): ±0.2% ของค่าที่วัด: ±0.2%ของ 100.0V = ±0.20V ...Full-scale error (±%f.s.): ±0.1%ของ 300.0V = ±0.30V    ค่าความคลาดเคลื่อนทั้งหมด ±0.20V  + ±0.30V = ±0.50V

ดังนั้นขอบเขตค่าความคลาดเคลื่อนของอุปกรณ์นี้ที่วัดค่าได้ 100.0V นั้นมีค่าเท่ากับ 99.50V – 100.50V

ควรเลือก Clamp Meter มีฟังก์ชันการทำงานพื้นฐาน
ควรเลือก Clamp Meter ที่อย่างน้อยมีฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานที่สามารถวัดค่าต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการวัดแรงดัน/กระแส ที่สามารถวัดได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และไฟฟ้ากระแสสลับ (AC), วัดความต้านทาน, วัดไดโอด, วัดคาปาซิเตอร์ ได้ อีกอย่างหนึ่งที่ควรคำนึงนั้นคือ การมีหน้าจอแสดงผลที่มีคุณภาพ มีไฟแสดงหน้าจอ เพราะหากมีการนำไปใช้งานในที่ๆ แสงสว่างไม่เพียงพอเราจะได้อ่านค่าได้ชัดเจน

TRUE RMS หรือ MEAN
ดูว่าในการใช้งานของเรานั้นโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นการวัดอุปกรณ์ที่เกิดสัญญาณฮาร์มอนิกหรือไม่ แต่เราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่ากระแสที่วัดนั้นจะมีสัญญาณฮาร์มอนิกอยู่หรือไม่ ทางที่ดีเพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำควรเลือกแบบ TRUE RMS ดีกว่า ซึ่งทำให้เรามั่นใจถึงค่าที่วัดออกมาว่ามีความแม่นยำอย่างแน่นอน

มีฟังก์ชันที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูล
ควรมีฟังก์ชันที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลหรือเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ได้เพื่อนำข้อมูลนั้นไปใช้งานต่อหรือทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ Clamp Meter ของ FLUKE นั้นสามารถเชื่อมโยงข้อมูล อ่านค่า ได้ผ่านหน้าจอมือถือหรือโดยผ่านระบบ FLUKE Connect ส่วน Clamp Meter ของ HIOKI สามารถเชื่อมต่อข้อมูล อ่านค่า ไปยังมือถือหรือแท็บแล็ตโดยผ่านทางระบบ Bluetooth


ขนาดของปากแคลมป์ JAW Dimension
ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการเลือก Clamp Meter เลยทีเดียว เพราะหากเราเลือก Clamp Meter ที่มีขนาดเล็กเกินไปอาจทำให้ค่าที่วัดไม่มีความแม่นยำได้เนื่องจากเวลาเราทำการวัดโดยใช้ Clamp นั้นเราจะให้สายไฟอยู่บริเวณกึ่งกลางของแคลป์พอดี หากเลือกแคลมป์ที่มีขนาดเล็กเกินเวลาทำการวัดตัวสายไฟกับปากแคลมป์อาจติดกันเกินไปค่าที่ออกมานั้นไม่แม่นยำ


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง www.factomart.com




ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0