INFRARED THERMOMETER มีหลักการทำงานอย่างไร?
INFRARED THERMOMETER มีหลักการทำงานอย่างไร?
เขียนโดย : นวรัตน์ ตำนานจิตร
ฝ่ายขาย สาขาชลบุรี
สวัสดีค่ะ วันนี้เราก็จะมาพูดถึงเรื่องตัว INFRARED THERMOMETER ที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่พบว่าเมื่อนำไปใช้งานแล้วหลายท่านคงพบปัญหาในการใช้งาน จึงได้รวบรวมหลักการใช้งานคร่าวๆมาให้ ดังนี้ค่ะ
INFRARED THERMOMETER มีหลักการทำงานอย่างไร?
ตัวตรวจจับรังสีอินฟราเรดทำหน้าที่รับรังสีอินฟราเรด ที่แผ่ออกจากวัตถุเป้าหมาย ผ่านเลนส์ของเครื่องมือวัด แล้วแปลงรังสีอินฟราเรดเหล่านี้ให้อยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า โดยรังสีอินฟาเรดที่ตัวตรวจจับรับไปนั้นประกอบด้วยรังสีที่วัตถุเป้าหมายแผ่ ออกมารวมกับรังสีที่แผ่จากวัตถุอื่นหรือจากสิ่งแวดล้อมสะท้อนออกจากผิวของ วัตถุเป้าหมาย จากนั้นวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่รับมาจากตัวตรวจจับและนำ ไปแสดงที่ตัวแสดงผล
ค่า Emisssivity มีความสำคัญอย่างไร?
ค่า EMISSIVITY คือความสามารถในการสะท้อนรังสีอินฟาเรดของวัตถุใด ๆ เมื่อวัตถุนั้น ๆ ได้รับพลังงานเข้าไปแล้วซึ่งจะไม่เท่ากันในทุกวัตถุ โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีตารางแนบมาให้ แต่ส่วนใหญ่ปืนวัดอุณหภูมิจะถูกตั้งค่าดังกล่าวไว้ที่ 0.95 แต่ถ้าปืนวัดอุณหภูมิรุ่นใดสามารถเลือกฟังก์ชั่นค่านี้ได้ก็จะทำให้การวัด อุณหภูมิมีความแม่นยำขึ้น
ตารางค่า Emissivity ของวัสดุต่างๆ
**ข้อควรระวัง ในกรณีที่นำไปวัดค่าความร้อนของทองเหลือง ถ้าเป็นตัวธรรมดาที่ FIX ค่า Emissivity นั้นไม่สามารถใช้งานได้ เพราะทำให้ค่าเพี้ยน เนื่องจากทองเหลืองมีค่า Emissivity อยู่ที่ระหว่าง 0.4-0.5 เท่านั้นค่ะ**
Distance to Spot Ratio คืออะไร?
ถ้าค่า D:S ระบุว่า 12:1 หมายความว่าอย่างไร 12:1 เข้าใจง่าย ๆ ก็คือถ้าปืนวัดอุณหภูมิตัวนั้นนำไปวางอยู่หน้าวัตถุที่ต้องการวัดในระยะ 12 เมตร จะวัดอุณหภูมิเฉลี่ยในเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตรนั่นเอง
โดยสินค้าตัว INFRARED THERMOMETER ที่มีจำหน่ายหลักๆจะมีอยู่ 3 ยี่ห้อ คือ FLUKE ,CHOUVIN ARNOX และ CONTROL แต่ที่นิยมใช้จะเป็นของยี่ห้อ CONTROL เนื่องจากราคาไม่สูงมาก และมีใบ CER รับรองมาจากตัวแทนผู้ผลิตค่ะ
Tip แนะนำ
สินค้าแนะนำ
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่