เครื่องมือวัดของเราควรใช้ถ่านแบบไหนดี ?

เครื่องมือวัดของเราควรใช้ถ่านแบบไหนดี ?

24 กันยายน 2567

เขียนโดย : ภูมิชนะ จรเอก้า
แผนกประกันคุณภาพ



สวัสดี! เรากลับมาพบกันอีกแล้ว! แน่นอนครับว่าครั้งนี้เราก็มีสาระดีๆ มาฝากกันอีกเช่นเคย ทุกท่านเคยสงสัยมั้ยครับว่าเครื่องมือวัดของเรานั้นเหมาะสมกับถ่านแบบไหน ต้องใช้ถ่านแบบไหนเครื่องมือวัดของเราจึงจะใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย และยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือวัดของเราได้อีกด้วย เดี๋ยววันนี้มีข้อมูลดีๆ มาบอกกล่าวกันครับ



เครื่องมือวัดนั้นมีหลายแบบหลายประเภท หลากหลายกันไป หลัก ๆ แล้วการเลือกใช้ถ่านให้เหมาะสมกับตัวเครื่องมือวัดนั้น สังเกตุได้จากการใช้งานของตัวเครื่องมือวัดเอง ว่าใช้วัดสิ่งใดได้บ้าง หรือการกินกำลังไฟของตัวเครื่องมือวัดของเราครับ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจขอแยกเป็นดังนี้ครับ

ถ้าถามว่าใช้แบบอัลคาร์ไลน์จะได้มั้ย? มันไม่ดีกว่าเหรอ แพงกว่าด้วยนะ บอกเลยครับว่าได้เช่นกัน แต่มองว่ามันไม่เหมาะสมและผิดจากสเปคกำหนดครับ อีกอย่างเกินความจำเป็นไปมาก และอาจจะเกิดผลเสียขึ้นกับเครื่องมือวัดของเราได้ หากไม่ได้ใช้งานแบบต่อเนื่องหรือเป็นเวลานานๆ เพราะอาจจะมีของเหลวเป็นกรดเคมีออกมาทำลายขั้วถ่านเครื่องมือวัดของเราเสียหายได้นะครับ

 - ถ่านสีเขียว เหมาะสำหรับอุปกรณ์กินกำลังไฟน้อยๆ แต่ต่อเนื่อง ป้องกันการ Leak อาจจะเป็นเรื่องของกรดเคมี หรือลดการเสื่อมของพลังงานในตัวถ่านได้ เช่น นาฬิกา, Thermo Hygro Meter, Clamp Meter,Multimeter
- ถ่านสีดำ เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่กินกำลังไฟน้อยๆ ต่อเนื่องเช่นกันแต่เก็บประจุได้มากกว่า (เก็บประจุได้ดีกว่าสีเขียว)

เครื่องมือวัด แบบที่ 2  เครื่องมือวัดที่สามารถวัดค่าได้และมีเอาท์พุทด้วย เช่น เครื่องมือวัดค่าความเป็นฉนวน มัลติมิเตอร์ที่สามารถอ่านค่าได้และจ่ายเอาท์พุทได้ ไม่ว่าจะเป็น Voltage,Current หรือ อุณหภูมิ เครื่องมือวัด
พวกนี้จะกินกำลังไฟมากกว่าปกติ จึงต้องใช้ถ่านอัลคาร์ไลน์จึงจะเหมาะสม



 - ถ่านอัลคาร์ไลน์  ผลิตจากสังกะสีและแมงกานีสออกไซด์ เวลาใช้งานจะเกิดปฎิกิริยาเคมี เปลี่ยนสารที่อยู่ภายในให้กลายเป็นของเหลว สังเกตุดูเมื่อเวลาถ่านชนิดนี้หมด จะเกิดของเหลวขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เครื่องมือวัดเสียหายมาเป็นอันดันต้นๆ เลยก็ว่าได้ หากต้องการใช้งานให้คุ้มค่าควรใช้กับเครื่องมือที่กินกำลังไฟมากๆ และต่อเนื่อง เหมาะมากกับเครื่องมือวัดที่มีการปล่อย สัญญาณเอาท์พุท ยกตัวอย่างเช่น FLUKE 789, Insulation Tester, Chauvin Arnoux Calibrator C.A.1631, Megaohm Meter

แต่ยังมีอีก 1 วิธีที่ และมันเป็นวิธีเริ่มต้นที่ทุกคนอาจจะมองข้าม ก่อนที่เราจะใช้เครื่องมือวัดทุกๆ ประเภทนั้นเราควรศึกษาดูคู่มือแล้วอ่านมันให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อนครับ และนี่ก็เป็นหนทางที่แท้จริง ซึ่งในคู่มือของเครื่องมือที่มีมาตรฐานส่วนใหญ่ จะบอกถึงรายละเอียดการใช้ งานว่าใช้งานกับถ่านแบบไหน ดังตัวอย่างนี้ครับ


จะเห็นได้ว่าหลักๆ แล้วนะครับ จะอ้างอิงมาจาก Manual เลย เพราะมันมีความถูกต้องมากที่สุด ผู้ผลิตเครื่องมือวัดเท่านั้นที่จะบอกว่าเครื่องมือรุ่นนั้น รุ่นนี้ใช้ถ่านแบบไหนจึงจะถูกต้องมากที่สุด และควรปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดครับ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องมือวัดของเราที่มีราคาสูงจะดีกว่าใช่มั้ยหล่ะครับ



ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0