วิธีการวิเคราะห์สาเหตุ และการตรวจเช็ควาล์วเบื้องต้น

วิธีการวิเคราะห์สาเหตุ และการตรวจเช็ควาล์วเบื้องต้น

23 พฤศจิกายน 2567


เขียนโดย
: รัตนพงษ์ ชีถนอม

Product Manager ASCO




สวัสดีครับทุกท่าน หลายๆท่านน่าจะพอรู้จักสินค้าโซลีนอย์ดวาล์ว (Solenoid valve) กันบ้างแล้วนะครับ แต่บางคนอาจจะไม่รู้ว่าอาการเสีย หรือสาเหตุการเสียหายของวาล์ว โดยเบื้องต้นจะเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง และเราจะตรวจเช็ค/แก้ไขเบื้องต้นกันอย่างไร Tip วันนี้เราจะมาพูดคุยเรื่องนี้กัน เพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาโดยเบื้องต้นได้

ต้องขอเกริ่นก่อนว่าปัญหาที่เกิดจากการใช้งานโซลีนอย์ดวาล์วโดยส่วนมากไม่ได้เกิดจากตัวโซลีนอย์ดวาล์วเอง แต่เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอกเสียมากกว่า ในส่วนของปัญหาจากตัววาล์วก็มีเป็นจำพวกปัญหาจากอายุการใช้งาน, การเสื่อมของตัวอุปกรณ์เป็นต้น คราวนี้เรามาดูกันนะครับว่าปัญหาที่ว่าไปนี้ ส่วนมากเป็นเรื่องอะไรบ้าง แล้วเรามีวิธีการวิเคราะห์สาเหตุและการตรวจเช็ค/แก้ไขเบื้องต้นกันอย่างไร มาดูกันเลยครับ


ปัญหาที่มักจะเกิด สาเหตุ เบื้องต้น การตรวจเช็ค/แก้ไขเบื้องต้น
วาล์วแบบ Direct operated valve
วาล์วไม่ทำงานเมื่อได้สั่งงาน/จ่ายไฟไปที่คอล์ย (สถานะทำงาน) แรงดันไฟต่ำเกินไป หรือไม่มีไฟจ่ายเข้าที่คอล์ย ตรวจสอบแรงดันไฟ สำหรับการใช้งานวาล์วโดยทั่วไป แรงดันไฟควรสูงกว่า หรืออย่างน้อยควรจะมีแรงดันไฟเท่ากับ 85%ของแรงดันไฟ (Un) ที่ระบุไว้บน nameplate ของตัววาล์ว
คอล์ยไหม้ ดูที่หัวข้อ Coil failure (ด้านล่าง)
มีสิ่งแปลกปลอมเกาะติดอยู่ที่ตัวแกนวาล์วมากเกินไป ทำความสะอาดวาล์ว หรือป้องกันโดยการติดตั้งภาคกรองของไหลก่อนเข้าวาล์ว
วาล์วตัน หรือวาล์วเสียหาย เปลี่ยนวาล์วตัวใหม่
ความดันเกิน ลดความดันก่อนเข้าวาล์วให้ อยู่ในระดับที่ระบุไว้ตามสเปควาล์ว
วาล์วไม่ปิด เมื่อไม่ได้สั่งงาน/ไม่ได้จ่ายไฟไปที่คอล์ย (สถานะไม่ทำงาน) คอล์ย ไม่คืนสถานะ (coil not de-energised) เช็ควงจรภาคคอนโทรลว่ายังจ่ายไฟอยู่หรือไม่
มีสิ่งแปลกปลอมเกาะติดอยู่ที่ตัวแกนวาล์วมากเกินไป ทำความสะอาดวาล์ว หรือป้องกันโดยการติดตั้งภาคกรองของไหลก่อนเข้าวาล์ว
อุปกรณ์ภายในวาล์ว (disc หรือ seat) พังหรือรั่ว เปลี่ยนใช้อุปกรณ์ตัวใหม่
วาล์วตัน หรือวาล์วเสียหาย เปลี่ยนวาล์วตัวใหม่
สปริงเสียหาย เปลี่ยนสปริง ห้ามยืดหรือหดสปริง
วาล์วแบบ Pilot operated valve
วาล์วไม่ทำงานเมื่อได้สั่งงาน/จ่ายไฟไปที่คอล์ย (สถานะทำงาน) แรงดันไฟต่ำเกินไป หรือไม่มีไฟจ่ายเข้าที่คอล์ย ตรวจสอบแรงดันไฟ สำหรับการใช้งานวาล์วโดยทั่วไป แรงดันไฟควรสูงกว่า หรืออย่างน้อยควรจะมีแรงดันไฟเท่ากับ 85%ของแรงดันไฟ (Un) ที่ระบุไว้บน nameplate ของตัววาล์ว
คอล์ยไหม้ ดูที่หัวข้อ Coil failure (ด้านล่าง)
มีสิ่งแปลกปลอมเกาะติดอยู่ที่ตัวแกนวาล์วมากเกินไป ทำความสะอาดวาล์ว หรือป้องกันโดยการติดตั้งภาคกรองของไหลก่อนเข้าวาล์ว
วาล์วตัน หรือวาล์วเสียหาย เปลี่ยนวาล์วตัวใหม่
ความดันเกิน ลดความดันก่อนเข้าวาล์วให้อยู่ในระดับที่ระบุไว้ตามสเปควาล์ว
ความดันไม่พอ (pressure drop) วาล์วอาจจะขนาดใหญ่เกิน (oversized) ให้ใช้วาล์วตัวใหม่ที่มีรู orifice เล็กลง หรือเพิ่มความดันเข้าไปในวาล์ว (ถ้าเป็นไปได้)
diaphragm หรือ piston เสียหาย เปลี่ยนใช้อุปกรณ์ตัวใหม่
วาล์วไม่ปิด เมื่อไม่ได้สั่งงาน/ไม่ได้จ่ายไฟไปที่คอล์ย (สถานะไม่ทำงาน) คอล์ยไม่คืนสถานะ (coil not de-energised) เช็ควงจรภาคคอนโทรลว่ายังจ่ายไฟอยู่หรือไม่
มีสิ่งแปลกปลอมเกาะติดอยู่ที่ตัวแกนวาล์วมากเกินไป ทำความสะอาดวาล์ว หรือป้องกันโดยการติดตั้งภาคกรองของไหลก่อนเข้าวาล์ว
อุปกรณ์ภายในวาล์ว (disc หรือ seat) พังหรือรั่ว เปลี่ยนใช้อุปกรณ์ตัวใหม่
วาล์วตัน หรือวาล์วเสียหาย เปลี่ยนวาล์วตัวใหม่
สปริงเสียหาย เปลี่ยนสปริง ห้ามยืดหรือหดสปริง
รู orifice รั่ว ทำความสะอาด orifice
pilot seat หรือ pilot disc เสียหาย เปลี่ยนใช้อุปกรณ์ตัวใหม่
diaphragm หรือ piston เสียหาย เปลี่ยนใช้อุปกรณ์ตัวใหม่
ความดันไม่พอ (pressure drop) วาล์วอาจจะขนาดใหญ่เกิน (oversized) ให้ใช้วาล์วตัวใหม่ที่มีรู orifice เล็กลง หรือเพิ่มความดันเข้าไปในวาล์ว (ถ้าเป็นไปได้)
ปัญหาที่คอล์ย (Coil failure)
Coil failure แรงดันไฟฟ้าเกิน (Overvoltage) ตรวจสอบแรงดันไฟ แรงดันไฟ (Un) ต้องไม่เกินจากที่ระบุไว้บน nameplate ของตัววาล์ว
คอล์ยเสียหายจากมีกระแสไฟฟ้าเกิน อย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบความเสียหายที่แกน และสปริง, ตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่ที่ตัวแกน และทำความสะอาด หรือถอดเปลี่ยนอุปกรณ์บางตัวออก
มีสิ่งแปลกปลอมเกาะติดอยู่ที่ตัวคอล์ย
แรงดันของเหลวสูงเกิน ลดความดัน หรือติดตั้งวาล์วตัวใหม่ที่เหมาะสม
มีความชื้นภายในตัวโซลีนอย์ด ติดตั้งระบบการกันน้ำเข้าที่ขั่วต่อไฟเพื่อป้องกันความชื้น ถ้าวาล์วติดตั้งภายนอกอาคาร ควรตรวจสอบหัวข้อดังนี้
- ขั้วต่อสายและซีลกันน้ำที่ตัวคอล์ยมีสภาพดีอยู่หรือไม่
- ตู้คอนโทรล (ถ้ามี) ตรวจเช็คสภาพการกันน้ำ และซีลว่ามีสภาพดีอยู่หรือไม่




ทีนี้เราก็พอจะสามารถวิเคราะห์ปัญหา / สาเหตุ และการแก้ปัญหาเบื้องต้นได้แล้วนะครับ



ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0