เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร?
เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร?
เขียนโดย : ฝ่ายขายสาขาขอนแก่น
สวัสดีค่ะทุกๆท่าน วันนี้จะขอมาแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับตัว Encoder เพื่อให้ทุกท่านได้ทำความรู้จักกันมากขึ้นค่ะ
หลักการทำงาน
ขอแนะนำส่วนประกอบเบื้องต้นของเอ็นโค้ดเดอร์ก่อนนะค่ะ
1. เพลา (Shaft) ใช้สำหรับต่อเข้ากับวัตถุที่หมุนเช่น มอเตอร์
2. แผ่นดิสซ์ (Code หรือ PulseDisc) จะเป็นแผ่นที่มีแทร็กหรือร่องเล็ก ๆ มีทั้งส่วนที่โปร่งแสงและทึบแสง เพื่อให้แสงอินฟาเรดลอดผ่านได้
3. แหล่งแสง (Light Source) เป็นไป LED คุณภาพสูง
4. ตัวรับแสง (Photodetector หรือPhotodiode) ใช้รับแสงจาก LED เพื่อแปลงไปเป็นรหัสข้อมูล
การนำไปใช้งาน
จากส่วนประกอบที่ได้กล่าวไป จะเห็นว่าตัวส่งแสงและรับแสงจะมี 3 ชุด เรียกว่าเฟส A, B และ Z เอาต์พุตของ Encoder ที่ออกมาจึงมี 3 ชุดด้วยเช่นกัน เพื่อนำไปใช้งานหลากหลาย โดยจะมีข้อแตกต่างคือ เฟส A และ B จะเหลื่อมกันอยู่ 90 องศา (ทำให้นำไปใช้งานเพื่อดูทิศทางการหมุนได้ ว่าหมุนซ้ายหรือขวา คือเจอ A ก่อน B หรือ B ก่อน A) ส่วนเฟส Z เมื่อครบ 1 รอบจึงจะปล่อยแสงออกมา 1 ครั้ง (นำไปใช้อ้างอิงตำแหน่งเมื่อครบรอบได้)
นอกจากนี้ จะยังมีสัญญาณพิเศษเสริมให้อีก 1 ชุด ของทั้งเฟส A B และ Z (สัญลักษณ์คือ มีขีดอยู่บนหัวตัวอักษร) คือจะปล่อยสัญญาณที่กลับหัว (Inverted) ของ A, B และ Z ออกมาให้ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อีกมากมายเช่นกันค่ะ
ส่วนใหญ่ Encoder มักถูกนำไปใช้ในงานต่อกับคัปปลิ้ง หรือต่อเข้ากับลูกล้อ ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์หรือสายพานลำเลียง เพื่อวัดรอบ, วัดระยะทาง, วัดทิศทางการหมุน ไปจนถึงการตรวจจับตำแหน่ง จึงเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในหน้างานหลากหลายรูปแบบ
การต่อสายใช้งาน
ขอยกตัวอย่างการต่อสายใช้งานของ Encoder ยี่ห้อ Kubler รุ่น 3700 Series จากประเทศเยอรมนีละกันนะค่ะ ให้เห็นภาพว่าเป็นอย่างไร เบื้องต้นต้องเข้าใจก่อนว่า ด้วย Encoder 1 ตัว มีเอาต์พุตให้เลือกใช้หลากหลาย จำนวนสายจึงจะเยอะมาก แต่หากเราเข้าใจหลักการทำงานของมันก็ไม่ได้ยากอะไรค่ะ
หากสงสัยอย่างไรสอบถามเพิ่มเติมที่ TIC ได้นะคะ เรามีสินค้าให้ยืมไปทดลองได้ไม่มีค่าบริการค่ะ
Tip แนะนำ
สินค้าแนะนำ
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่