การประยุกต์ใช้งาน Capacitive Prox.ตรวจจับกากอ้อย และเทคนิคการแก้ปัญหา
การประยุกต์ใช้งาน Capacitive Prox.ตรวจจับกากอ้อย และเทคนิคการแก้ปัญหา
เขียนโดย : ฝ่ายขายสำนักงานใหญ่
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้จะมานำเสนอในเรื่องของ Proximity Switch แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ ได้แก่
1.อินดัคทีฟ พร๊อกฯ เป็นชนิดที่ตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะเท่านั้น เช่น เหล็ก ,สแตนเลส ,อลูมิเนียม
2.คะแพซิทีฟ พร๊อกฯ เป็นชนิดที่ใช้ตรวจจับวัตถุได้ทุกชนิด เช่น ไม้ ,แก้ว ,พลาสติก ,น้ำ ,กระดาษ
แต่...วันนี้ผมจะมากล่าวในเรื่องของ การประยุกต์ใช้เซนเซอร์และการแก้ปัญหาที่ประสบพบเจอมา คือหน้างานหนึ่ง มีความต้องการใช้เซนเซอร์ เช็คระดับกากอ้อยในซองเพื่อนำไปผลิตไฟฟ้า จึงได้เลือกเซนเซอร์ ที่เป็น คะแพซิทีฟ พร๊อกฯ รายละเอียดตามภาพ
จากรูปที่ 1.1 และ 1.2 จะเห็นว่าเมื่อมีกากอ้อยในซอง ตัวเซนเซอร์ก็สามรถตรวจจับได้ (ไฟติด)... ดูแล้วน่าจะใช้ได้
แต่จากรูปที่ 1.3 ในซองไม่มีกากอ้อย แต่เซนเซอร์ก็ ตรวจจับได้ ข้อควรระวัง คือไม่ควรมีสิ่งกีดขวางที่ขอบรอบๆของเซนเซอร์ เพราะเซนเซอร์สามารถตรวจจัดได้ จากรูปที่ 1.3 และ 1.4 กากอ้อยที่ร่วงลงมาอยู่ที่ขาจับเซนเซอร์ ทำให้เซนเซอร์ตรวจจับได้ ทั้งๆที่กากอ้อยไม่มีในซอง
*** จึงต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาจากหน้างานที่ได้เจอ ซึ่งจากลักษณะหน้างาน อย่างไรก็ต้องมีเศษกากอ้อยร่วงหล่นลงมา ไม่มีทางทำให้ไม่ร่วงได้ จึงได้ออกแบบวิธีการแก้ไข จากภาพต่อไปนี้ครับ
จากรูปที่ 1.5 และ 1.6 จึงได้นำแผ่นเมทัลชีท มาสวมที่ด้านบนของเซนเซอร์ เพื่อไม่ให้กากอ้อย ร่วงมาใส่ เพียงเท่านี้ก็ทำงานได้อย่างถูกต้องแล้วครับ
นี้เป็นเพียงตัวอย่างหน้างานเล็กๆน้อยๆที่ให้ดูหนึ่งงาน เพื่อให้เห็นว่า การประยุกต์ใช้งานและเทคนิคการแก้ปัญหา สามารถออกแบบได้เสมอขึ้นอยู่ปัญหากับสภาพหน้างานนั้นๆนะครับ หากติดขัดหน้างานอย่างไร เรียกใช้บริการ TIC ได้ วิ่งเข้าไปออกแบบให้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายครับ
Tip แนะนำ
สินค้าแนะนำ
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่