การใช้งานและข้อควรระวังของตัว ULTRASONIC SENSOR

การใช้งานและข้อควรระวังของตัว ULTRASONIC SENSOR

29 มิถุนายน 2560



เขียนโดย : อดิศร แซ่ฉั่ว


ฝ่ายขายสำนักงานใหญ่

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมจะมาแนะนำถึงการใช้งานและข้อควรระวังของตัว ULTRASONIC SENSOR ซึ่งบางท่านอาจเคยใช้เซนเซอร์ตัวนี้อยู่บ้างแล้วในการตรวจจับชิ้นงาน รวมไปถึงตรวจวัดระดับ (Level) ในไซโลต่างๆ แต่อาจไม่ทราบถึงรายละเอียดหรือข้อควรระวังบางจุด ที่อาจทำให้การตรวจจับไม่สมบูรณ์หรือสร้างปัญหาให้เราปวดหัวกันได้ครับ

หลักการทำงาน : ULTRASONIC SENSOR ทำงานโดยส่งคลื่นความถี่เสียงย่านอุลตร้าโซนิกส์ โดยส่งคลื่นออกมากระทบกับวัตถุหรือชิ้นงานที่ตรวจจับแล้วสะท้อนคลื่นเสียงกลับมาที่ตัวเซนเซอร์ ทำให้สามารถเช็คระยะตรวจจับได้
ข้อจำกัดการใช้งาน : งานที่เป็นข้อจำกัดการใช้งานของ ULTRASONIC SENSOR คือ งานที่มีผงฝุ่น,งานวัดระดับที่มีใบพัดกวนเป็นต้นจากรูปที่แสดงด้านบน รายละเอียดคือ
- Blind Zone : คือจุดที่เซนเซอร์ไม่สามารถตรวจจับได้
- S1 : เป็นระยะการตรวจจับปรับจูนระยะเริ่มต้นของการจ่ายเอาต์พุตกระแสหรือแรงดัน เช่น ถ้าต้องการให้ที่ระยะทาง 30 ซม. เอาต์พุตออก 4 mA. ให้ปรับจูน S1 เป็น 30 ซม.
- S2 : เป็นระยะการตรวจจับปรับจูนที่ให้เอาต์พุตทำงาน เช่น ถ้าต้องการให้ระยะ 100 ซม. เอาต์พุตออก 20 mA. ให้ปรับจูน S2 เป็น 100 ซม. เป็นต้น
- เพราะฉะนั้น ระทางที่ 30ซม.- 100ซม. เอาต์พุตของ ULTRASONIC SENSOR จะออก 4-20mA. คือ Switching Range
- ข้อควรระวังอีกอย่างที่สำคัญ คือ มุมการตรวจจับของเซนเซอร์ (Opening Sonic Cone) ต้องน้อยกว่าความกว้างของขอบถังหรือภาชนะที่ตรวจจับเสมอ มิฉะนั้นเซนเซอร์จะตรวจจับขอบภาชนะแทนจะไม่สามารถใช้งานได้

สรุปว่าการนำ ULTRASONIC SENSOR ไปใช้งาน ควรพึงระวังถึงข้อจำกัดต่างๆเหล่านี้ด้วยเสมอ หรืออาจทดลองนำอุปกรณ์ไปลองติดตั้งก่อนจะสั่งซื้อจริงก็จะยิ่งมั่นใจครับ ทาง TIC มีอุปกรณ์ให้ยืมไปทดลองพร้อมทีมงานไปติดตั้งให้ด้วยฟรีนะครับ เรียกใช้บริการได้ตลอดครับ




ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0