Temperature Controller มีให้เลือกใช้งานกี่ประเภท กี่แบบกันนะ ?
Temperature Controller มีให้เลือกใช้งานกี่ประเภท กี่แบบกันนะ ?
เขียนโดย : ฝ่ายขายสำนักงานใหญ่
สวัสดีค่ะทุก ๆ ท่าน วันนี้จะมาแนะนำถึงการแบ่งประเภท Temperature Controller ที่ควรรู้จักกันค่ะ ในการใช้งานตัวควบคุมอุณหภูมินั้นเราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ Analog Controller และ Digital Controller โดยสามารถอธิบายรายละเอียดต่างๆ ได้ดังนี้ค่ะ
Analog Controller
เป็น Temperature Controller ประเภทหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุม แต่วงจรภายในไม่ได้ใช้ตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุมหรือคำนวณ จะใช้เพียงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ออฟแอมป์ หรือ อาจจะไม่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์เลยมีเพียงโลหะ 2 ชนิด ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ เช่น Bimetal โดยตัวควบคุมประเภทนี้ปัจจุบันมีใช้น้อยลงในอุตสาหกรรม หรืองานที่ต้องการความถูกต้องในการวัดและการควบคุมสูง เนื่องจากถูกทดแทนด้วยตัวควบคุมแบบดิจิตอล Digital Controller ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่า
ตัวอย่างของ Analog Controller ได้แก่ Analog Temperature Controller เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิประเภทหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิ เช่น ออฟแอมป์ หรือวงจรดิจิตอลอย่างง่าย โดยตัวควบคุมประเภทนี้ปัจจุบันมีการใช้น้อยลงจนแทบจะไม่มีให้เห็นเนื่องจากมีการทดแทนด้วยตัวควบคุมแบบ Digital
Digital Temperature Controller
เป็น Temperature Controller ประเภทหนึ่งที่มีใช้กันมากในปัจจุบัน ทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ทั้งร้อนและเย็น หรือเลือกได้ทั้งร้อนและเย็นพร้อมกัน โดยมีความเที่ยงตรงสูงและสามารถใช้งานได้หลากหลาย รวมถึงสามารถต่อเข้ากับระบบควบคุมแบบใหม่ได้ เช่น Industry 4.0 เพื่อเก็บข้อมูล หรือการควบคุมจากระยะไกล แต่อย่างไรก็ตามระบบการควบคุมแบบนี้ก็จะมีความซับซ้อนมากกว่าแบบ Analog Controller เนื่องจากจำเป็นต้องมีการตั้งค่าตัวแปรต่าง ๆ และอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งทางด้านอินพุต และเอาต์พุต แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันจึงทำให้ความซับซ้อนเหล่านี้ลดลงทำให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างของ Digital Controller ได้แก่ Panel Temperature Controller เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิที่ใช้กันมากในปัจจุบันซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ทั้งร้อนและเย็น หรือเลือกทั้งร้อนและเย็นพร้อมกัน โดยมีความเที่ยงตรงสูง และสามารถใช้งานได้หลากหลาย รวมถึงสามารถต่อเข้ากับระบบควบคุมแบบใหม่ได้ เช่น Industry 4.0 เพื่อเก็บข้อมูล หรือการควบคุมจากระยะไกลผ่านทางพอร์ตสื่อสาร เช่น RS - 485, TTL, MODBUS และมีองค์ประกอบพื้นฐานของตัวควบคุม ได้แก่ มีหน้าจอแสดงผลค่าอุณหภูมิ PV มีส่วนของการตั้งค่าอุณหภูมิ SV มีช่องรับสัญญาณอินพุต และมีช่องส่งสัญญาณเอาต์พุต
การแบ่งประเภท Temperature Controller ตามลักษณะของงาน
จากที่เราได้ทำความรู้จักกับ Temperature Controller 2 ประเภทใหญ่ ๆ ไปเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็จะเป็นการแนะนำประเภทย่อยต่าง ๆ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อความเหมาะสมของลักษณะงานที่แตกต่างกันออกไป มีดังนี้
Thermostat
เป็น Temperature Controller ประเภทหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิจากโลหะ 2 ชนิดที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ เช่น Bimetal หรือแบบท่อแคปป์ลารี่ (Capillary Tube) ซึ่งนิยมใช้ในการควบคุมอุณหภูมิที่ไม่ต้องการความเที่ยงตรงสูงมากนักและต้องการความประหยัดเป็นสำคัญ เช่น ในเตารีด เตาอบ หม้อหุงข้าว ตู้เย็น หรือในตู้คอนโทรลที่ต้องการควบคุมการทำงานของพัดลมระบายความร้อนภายในตู้
DIN Mounting Temperature Controller
เป็นTemperature Controller ประเภทหนึ่งที่เริ่มมีใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิในกระบวนการผลิตที่ต้องใช้การควบคุมหลาย ๆ ลูป จะทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง เนื่องจากติดตั้งบนราง DIN โดย1 ตัว สามารถควบคุมได้ตั้งแต่ 2 ถึง 4 ลูป และสามารถต่อควบคุมได้สูงถึง 255 ลูป PID Control สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ทั้งร้อนและเย็น หรือเลือกทั้งร้อนและเย็นพร้อมกัน มีความเที่ยงตรงสูง และสามารถใช้งานได้หลากหลาย รวมถึงต่อเข้ากับระบบควบคุมแบบใหม่ได้ เช่น Industry 4.0 เพื่อเก็บข้อมูล หรือการควบคุมจากระยะไกล โดยจะมีองค์ประกอบพื้นฐานของตัวควบคุมได้แก่ ช่องรับสัญญาณอินพุต และมีช่องส่งสัญญาณเอาต์พุต ส่วนของการตั้งค่า ID ของการสื่อสารกับอุปกรณ์อ่านและเขียนค่า เช่น HMI หน้าจอสัมผัส PLC ตัวควบคุมอุปกรณ์เหล่านี้จะติดต่อกับตัวควบคุมอุณหภูมิผ่านทางพอร์ตสื่อสาร เช่น RS-485, TTL, MODBUS ซึ่งข้อสังเกตอย่างหนึ่งของ DIN Mounting Temperature Controller คือจะไม่มีหน้าจอแสดงผลค่า PV และปุ่มตั้งค่า SV เนื่องจากจะใช้งานผ่าน HMI หรือ PLC แทน
Profile Temperature Controller หรือ Programmable Temperature Controller
เป็น Temperature Controller ประเภทหนึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิเหมือนกับตัวควบคุมอุณหภูมิแบบอื่น ๆ แต่จะมีฟังก์ชั่นในการควบคุมอุณหภูมิที่เป็นลักษณะสเต็ป หรือการควบคุมที่มีความสัมพันธ์กับเวลา เช่น การอบขนม การอบเซรามิก ที่จำเป็นต้องค่อย ๆ เพิ่มอุณหภูมิ และค่อย ๆ ลดอุณหภูมิ เพื่อป้องกันความเสียหายแก่ชิ้นงานที่กำลังอบอยู่ ซึ่งข้อสังเกตอย่างหนึ่งของ Profile Temperature Controller นั้นคือเวลาตั้งค่า SV ในตัวควบคุมนั้น จะสามารถตั้งได้หลาย ๆ ค่า และสามารถตั้งค่าเวลาในการทำอุณหภูมิได้ด้วย
Refrigerator Controller และ Defrost Controller
เป็น Temperature Controller ที่เน้นในเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิด้านเย็นที่ตัวทำอุณหภูมิเป็นคอมเพรสเซอร์ (Compressor) ซึ่งใช้ในการเพิ่มความดันให้กับน้ำยาหรือสารทำความเย็น ในการเปิดหรือปิดตัวของ คอมเพรสเซอร์ (Compressor) แต่ละครั้งจำเป็นต้องมีการหน่วงเวลาเพื่อป้องกันความเสียหายแก่ตัวคอมเพรสเซอร์ (Compressor) จากการเปิดหรือปิดติด ๆ กันและมักจะมีฟังก์ชั่นพิเศษเช่น เมื่อเซนเซอร์วัดอุณหภูมิเสียจะให้ตัว คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำงานทุก ๆ กี่นาที เพื่อป้องกันTemperature Controller เสียหายจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นการละลายน้ำแข็ง โดยเซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่ใช้ในตัวควบคุมประเภทนี้จะเป็น Thermister (NTC) ซึ่งสามารถวัดอุณหภูมิในย่านติดลบได้ดี ซึ่งข้อสังเกตอย่างหนึ่งของ Refrigerator Controller และ Defrost Controller นั้นจะมีหน้าจอแสดงผลเฉพาะค่า PV และตัว Relay Output นั้นจะทนกระแสได้สูงกว่า Controller รุ่นอื่น ๆ
Digital Thermostat
เป็น Temperature Controller ประเภทหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิ ใช้แทนตัวควบคุมอุณหภูมิ Analog Thermostat ซึ่งทำจาก Bimetal หรือแบบท่อแคปป์ลารี่ (Capillary Tube) เนื่องจากต้องการความเที่ยงตรงในการควบคุมอุณหภูมิที่สูงขึ้น โดยจะใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ที่มีหน้าจอแสดงผลอุณหภูมิด้วย เตารีดไอน้ำ เตาอบไฟฟ้า หม้อหุงข้าวดิจิตอล ตู้เย็นดิจิตอล หรือในตู้คอนโทรลที่ต้องการควบคุมการทำงานของพัดลมระบายความร้อนภายในตู้ ซึ่ง Digital Thermostat เหล่านี้จะใช้เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิจากภายนอกและมีขนาด Relay Output ตั้งแต่ 8 A AC ขึ้นไปเพื่อสามารถควบคุมอุปกรณ์ทำความร้อนได้โดยตรง
ด้วยความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของภาคอุตสาหกรรม ทำให้เครื่องไม้เครื่องมือที่เราใช้งานนั้น ได้มีการพัฒนารูปแบบและแบ่งแยกออกไปได้เป็นหลายประเภท เช่นเดียวกับ Analog Temperature Controller ที่ได้ถูกแทนที่ด้วย Digital Temperature Controller เนื่องจากสามารถตอบสนองการใช้งานในปัจจุบันได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีการสร้างประเภทย่อยต่าง ๆ ขึ้นมาเพิ่มเติมอย่างมากมาย เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้ได้ดียิ่งขึ้นด้วย หากมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับการเลือกนำไปใช้งานให้เหมาะสมกับลักษณะงานสามารถติดต่อสอบถามมาทาง TIC ได้ค่ะ บริการฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
Tip แนะนำ
สินค้าแนะนำ
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่