อยากจะตรวจเช็คความเป็นฉนวนทางไฟฟ้า จะมีมิเตอร์แบบไหนช่วยได้บ้างไหมนะ?
อยากจะตรวจเช็คความเป็นฉนวนทางไฟฟ้า จะมีมิเตอร์แบบไหนช่วยได้บ้างไหมนะ?
เรียบเรียงโดย : ฝ่ายขายสาขาธนบุรี
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมจะมาแนะนำเกี่ยวกับเครื่องวัดความเป็นฉนวนไฟฟ้า ซึ่งหลายคนคงเคยใช้งานกันมาบ้างแล้ว แต่วันนี้ผมจะมาแนะนำการใช้งานและการตรวจเช็ค ยกตัวอย่าง เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานของสายไฟหรือสายอุปกรณ์มาเป็นเวลานาน เราจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับการตรวจเช็คเพื่อที่จะรู้ได้ว่าค่าความนำฉนวนของสายนั้นสมควรที่จะเปลี่ยนหรือซ่อมบำรุงตอนไหน ผมขอยกตัวอย่างยี่ห้อ KYORITSU รุ่น KEIA3165 และรุ่น KEIA3166
ในการใช้งานเราจะเช็คค่าฉนวนได้โดยการอ้างอิงจากตารางที่กำหนดไว้ได้ถูกต้อง
ตารางเทียบที่ใช้ในการทดสอบของประเทศ JAPAN
วิธีการวัดค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้า
** การวัดความเป็นฉนวนไฟฟ้าระหว่างตัวนำไฟฟ้าแบบ A **
การวัดแบบ A วัดเพื่อแน่ใจว่าระหว่างไฟ 2 เส้นหรือมากกว่ามีค่าความเป็นไฟฟ้ามากพอที่จะใช้งานได้โดยปลอดภัย ในการวัดต้องปลดภาระทางไฟฟ้า (Load) ออกจากระบบที่วัดพร้อมทั้งตัดไฟฟ้าในระบบทั้งหมดออกก่อน (โดยปิด Breaker หรือ Cut out ก่อน) แล้วจึงต่อเครื่องวัดเข้าระบบ และวัดค่าตามแบบ A
** การวัดความเป็นฉนวนไฟฟ้าระหว่างตัวนำไฟฟ้ากับสายดิน แบบ B **
ก่อนวัดค่า ต้องตัดไฟฟ้าในระบบออกให้หมดก่อนทุกครั้ง แล้วจึงต่อสายวัดของมิเตอร์ทั้ง2 เส้นเข้ากับระบบดังรูป B ค่าที่วัดได้จะบอกถึงสภาพโดยรวมของสายไฟฟ้า
เมื่อเทียบกับระบบสายดินว่า อยู่ในสภาพที่เสื่อมคุณภาพ จะเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้งาน คือ
- เกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานและหากผู้ใช้แตะต้องสายไฟที่ชำรุด ก็อาจจะถูกไฟฟ้าดูดได้
- เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ตัวป้องกัน RCDs จะตัด
หากมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับการเลือกใช้งาน หรือวิธีการนำไปใช้งาน ติดต่อ TIC บริการฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆครับ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : google/เรียนรู้วิธีการใช้ Insulation Tester
Tip แนะนำ
สินค้าแนะนำ
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่