Temperature Controller และ Refrigerator Controller ใช้งานต่างกันอย่างไร?

Temperature Controller และ Refrigerator Controller ใช้งานต่างกันอย่างไร?

21 พฤษภาคม 2563

เรียบเรียงโดย : 
Product Manager


สวัสดีครับทุกท่าน เครื่องควบคุมอุณหภูมิทำหน้าที่ในการประมวลผลสัญญาณ (Input) ที่รับเข้ามาจากตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ เช่น Thermocouple / PT100 / NTC / PTC เป็นต้น แล้วสั่งการให้เอาต์พุต (Output) ทำงาน เพื่อควบคุม Load เช่น Heater, Compressor เพื่อเพิ่มหรือลดลงของอุณหภูมิให้ได้ตามค่าที่ตั้งไว้ (Set point) และเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ Temperature Controller กับ Refrigerator Controller ในการเลือกนำไปใช้งาน ดังนี้

Temperature Controller




เป็น Controller สำหรับการควบคุมอุณหภูมิแบบ PID / ON-OFF ที่รับสัญญาณ (Input) มาจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ เช่น Pt100 / Thermocouple K, J ฯลฯ และกำหนดค่าที่เราต้องการจะควบคุม (Set point)




ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในโรงงานของอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร, เครื่องบรรจุภัณฑ์, เครื่องฉีดพลาสติก, อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์, อุตสาหกรรมเซรามิกส์ เป็นต้น ตัวอย่างการนำไปใช้งาน เช่น ต้องการต้มน้ำที่อุณหภูมิ 50C ตัว Temp Control ก็จะนำค่าที่อ่านได้จากหัววัด (PV) กับค่าที่เราต้องการควบคุม (SV) มาประมวลผล และค่าที่ประมวลผลได้ ก็จะถูกส่งไปทางด้านเอาต์พุต (Output) เพื่อไปควบคุม Heater ให้ทำงาน เมื่ออุณหภูมิได้ตามที่กำหนด ( 50C) ก็จะตัดการทำงาน เมื่อค่าไม่ได้ก็สั่งให้เอาต์พุตทำงานต่อ วนไปแบบนี้เรื่อยๆ ส่วน Diagram การต่อสายใช้งานหลักๆเลยก็จะมี Output ที่ใช้ควบคุม กับ Output Alarm เพื่อใช่เป็นตัวช่วยในการแจ้งเตือนอุณหภูมิที่เกิน หรือต่ำไปกว่าที่ควรโดยจะมี Terminal ที่เป็น ฟังก์ชั่นเสริมของแต่ละรุ่น เพื่อการใช้งานที่สะดวกมากขึ้น หรือเหมาะสมกับงานนั้นๆได้ดีที่สุด และข้อสังเกตุคือไฟเลี้ยงตัวเครื่องจะเป็นไฟ 220VAC หรือ 24VAC/DC เพราะไม่ต้องเคลื่อนย้ายตัว Temp Control ไปไหนนั่นเอง


Refrigerator Controller / Defrost Controller


เป็น Controller สำหรับการควบคุมอุณหภูมิย่านติดลบ หรือความเย็น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิที่ใช้ในจะเป็น Thermistor / NTC / PTC ซึ่งจะมีย่านการวัด และแสดงผล -40 ถึง 130C ซึ่งเหมาะในการใช้งานที่อุณหภูมิในย่านติดลบได้ดี


ส่วนใหญ่จะใช้กับตู้แช่อาหาร - เครื่องดื่ม ตามห้างร้านต่างๆ, รถห้องเย็นแช่อาหารเพื่อการขนส่งไปที่ต่างๆได้นั่นเอง ตัวอย่างการนำไปใช้งาน เช่น ต้องการควบคุมอุณหภูมิตู้แช่อาหารที่ -5C ตัว Refrigerator Control ก็จะนำค่าที่อ่านได้จากหัววัด (PV) กับค่าที่เราต้องการควบคุม (SV) มาประมวลผลและค่าที่ประมวลผลได้ก็จะถูกส่งไปทางด้านเอาต์พุต (Output) เพื่อไปควบคุม Compressor ให้ทำงาน เมื่ออุณหภูมิได้ตามที่กำหนด ( -5C) ก็จะตัดการทำงาน ถ้าค่าไม่ได้ก็สั่งให้เอาต์พุตงานต่อ วนไปแบบนี้เรื่อยๆ และการทำงานก็จะมีระบบละลายน้ำแข็ง (Defrost) เมื่อถึงเวลาที่กำหนดได้ด้วย และยังมีระบบป้องกัน Compressor เสียหาย เมื่อระบบมีปัญหาได้อีกส่วน Diagram การต่อสายใช้งานหลักๆเลยก็จะมี Output ที่ใช้ควบคุม กับ Defrost ที่ใช้ในการละลายน้ำแข็ง โดยจะมี Terminal ที่เป็นฟังก์ชั่นเสริมของแต่ละรุ่นเพื่อการใช้งานที่สะดวกมากขึ้น หรือเหมาะสมกับงานนั้นๆได้ดีที่สุด และข้อสังเกตุคือไฟเลี้ยงตัวเครื่องจะเป็นไฟ 220VAC หรือ 12VAC/DC เพื่อให้นำไปติดตั้งกับรถยนต์ขนส่งเพื่อการเคลื่อนย้ายได้นั่นเอง





เป็นอย่างไรบ้างกับการเลือกใช้งาน และความแตกต่างของ Temperature Controller กับ Refrigerator Controller ซึ่งการเลือกใช้งาน Controller ที่เหมาะสมกับงานจะช่วยลดความผิดพลาดในการทำงาน หรือการควบคุมระบบได้มากเลยทีเดียวครับ




ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0